'โดรน' อากาศยานทางการเกษตรเทคโนโลยีสูง

ในอนาคตอันใกล้การใช้ 'โดรน' เพื่อการเกษตร
จะทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปัญหาแรงงาน
ปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรที่มีจำกัด ต้นทุนวัตถุดิบ
วิถีชีวิตของเกษตรกรใน Generation Next
เมื่อเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งไกลตัวของคนในยุคนี้
อีกต่อไป

ประเทศไทยร่วมมือกับประเทศจีนก่อตั้ง
"ศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาการเกษตร" หรือ
Innovative Agricultural Development Center
(IADC)
เพื่อเป็นแหล่งผลิตนักปฏิบัติการเกษตรขั้นสูง
ซึ่งก็คือนักบินโดรน จากความต้องการแรงงานทักษะ
ด้านนี้มากกว่า 300,000 ตำแหน่งทั่วโลก
นอกจาก 20,000 ตำแหน่งเฉพาะในประเทศไทย
นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของนักธุรกิจเกษตรไทย
ที่จะเพิ่มพูนทักษะทางด้านนี้เพื่อรองรับความ
ต้องการของตลาดที่มีอยู่ทั่วโลก

อาชีพนี้ต้องมีการเรียนรู้และรับรองเป็นการเฉพาะ
เพราะ 'โดรน' คือยุทธภัณฑ์อากาศยานชนิดหนึ่ง

การฉีดพ่นธาตุอาหารพืชทางใบ น้ำหมักชีวภาพ
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สารอินทรีย์ปรับสภาพดิน
แบบ ULV (Ultra-Low Volume หรือ หัวพ่นน้ำน้อย)
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมเข้าทางใบ
และทางราก (ข้อมูลจากงานทดลอง)
สารที่ฉีดพ่นต้องอยู่ในรูป SL (Soluble Concentrate)
เพื่อลด toxic ที่แสดงอาการไหม้บนใบพืช
ทำละลายด้วยสาร Organo Silicone ที่มีคุณสมบัติ
Translaminate อำนาจทะลุทะลวงสูง
สารละลายต้องมีการปรับ pH เพื่อลดความสูญเสีย
จากการที่ธาตุอาหารพืชละลายลงดินเข้าสู่รากพืช

เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยละลายช้า
(Slow-released Fertilizer) รองพื้นก่อนปลูก
เพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารในดิน
ตลอดอายุเก็บเกี่ยวของพืช

ในสภาพอากาศร้อน ปากใบพืชปิด พืชหยุดกิจกรรม
สามารถฉีดพ่นน้ำด้วยเครื่องพ่นแรงดันสูง
เพื่อลดอุณหภูมิทรงพุ่ม กระตุ้นการเปิดปากใบ
เพื่อให้พืชเข้าสู่สภาวะปกติได้

นอกจากนี้ยังสามารถใช้งาน 'โดรน' เพื่อการเพาะปลูก
หว่านเมล็ดพันธุ์พืชลงบนแปลงปลูก ทั้งในพื้นที่ราบ
สม่ำเสมอ พื้นที่โค้งนูน พื้นที่ลาดสูงชัน เข้าถึงยาก

การบินสำรวจแปลงปลูก เพื่อดูความสม่ำเสมอ
ของการเจริญเติบโตของพืชในแปลงปลูก
การทำ Contouring Map เพื่อวางผังแปลง
ก็เป็นส่วนสำคัญในการจัดการแปลงปลูกและการ
วางแผนการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี


Comments

Popular posts from this blog

Enjoy Your Work, Enjoy Your Life

การตลาดวิถีพุทธ

6Qs สร้างสรรค์ผลงาน สร้างความเบิกบานให้ชีวิต