Posts

Showing posts from April, 2017

ภารกิจหลักของนักพัฒนาผลิตภัณฑ์

งานทดสอบเพื่อคัดเลือกสินค้าหรือสายพันธุ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ ต่อเนื่องจากส่วนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หน้าที่นี้ต้องใช้ทักษะสูง มีข้อมูลที่แม่น และแน่น ทั้งข้อมูลตลาด และผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในตลาด เพื่อถ่ายทอดให้กับฝ่ายตลาดและฝ่ายขาย ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ต้องผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างผู้สร้างและผู้ขาย นอกจากทักษะรวบรวม และถ่ายทอดข้อมูล ยังต้องมีทักษะการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานได้ดีอีกด้วย ผลจากการคัดเลือก สินค้าบางชนิดก็มี life cycle ยาวนาน บางชนิดก็หมดความนิยมในเวลาอันรวดเร็ว มักจะขึ้นกับ "ข้อจำกัด" ของสินค้า มากกว่า "ข้อด้อย" ของสินค้า นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีทักษะสูง สามารถชู "จุดเด่น" ข่ม "จุดด้อย" ได้ แต่ไม่สามารถกำจัด "ข้อจำกัด" ของสินค้าได้ เพราะเป็นลักษณะประจำตัวสินค้าที่แก้ไขไม่ได้ ในธุรกิจเกษตร ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ จะได้สัมผัสกับธรรมชาติ เกษตรกร มากกว่าพบกับร้านค้า ตัวแทนจำหน่าย เหมาะกับผู้ที่รักธรรมชาติมากกว่าผู้คน เช้าลงแปลง บ่ายพบเกษตรกร ค่ำเขียนรายงาน

Focus at the End

ทุกวันนี้ ตลาดมันเปลี่ยนไปเยอะ การทำงานต้องใช้กลยุทธ์ถึงระดับ End - User  หรือเกษตรกรผู้ใช้สินค้า เพื่อสร้างความต้องการใช้สินค้าให้เกิดขึ้น ในธุรกิจเกษตร ยังไม่ถึงขั้นต้องใช้ แผนการตลาดในระดับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคยังมีข้อมูล ในสินค้ากลุ่มนี้น้อยอยู่มาก สังเกตได้จากการต่อต้านที่รุนแรง โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ในอดีต เราสามารถใช้ตัวแทนจำหน่าย ผลักดันสินค้าเข้าไปในตลาดได้ดังตั้งใจ แต่วันนี้ ทุกอย่างมันเปลี่ยนไป ด้วยภาวะการแข่งขัน การเติบโตของผู้ค้าช่วง กิจการที่เกิดขึ้นใหม่และเติบโตอย่างรวดเร็ว ร้านค้าช่วงของบริษัทใหญ่ในวันนี้ จึงมีโอกาสได้เป็นตัวแทนจำหน่าย ของบริษัทขนาดกลางถึงเล็กที่มีอยู่เต็มตลาด อัล รีส์ & แจ็ค เทร้าส์ เคยเสนอทฤษฎี " มองมุมกลับ พลิกการตลาด 360 องศา" เอาไว้ตั้งแต่ 25 ปีที่แล้ว ไม่มีใครนึกออกหรอก หนังสือเล่มนี้ขายไม่ดี ผมยังได้มาจากร้านขายหนังสือ บนชั้นหนังสือลดราคาเลย ใครมีก็เอามาอ่าน ตอบโจทย์การทำตลาดในยุคนี้สุดๆ สองกูรูคิดได้อย่างไรในยุครอยต่อ ของการผลิตและการขายเป็นใหญ่ (Production concept to Selling concept)

วิสัยทัศน์ขององค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบัน

ความท้าทายวันนี้ของงาน พัฒนาธุรกิจ     (Business development) พัฒนาตลาด        (Market development) พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development) หรือสามเหลี่ยม Biz - Mart - Goods matrix ในสภาวะตลาดปัจจุบัน แนวคิดในการพัฒนาตลาด (New market/ exist product) และ/   หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (New product/ exist market) ดูเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก็ไม่เท่าไร เมื่อเทียบกับการพัฒนาธุรกิจ (Business development) มุ่งเน้นที่ปรับรูปแบบธุรกิจ (Business - role model) หลายองค์กรธุรกิจ ก็ต้องปรับกระบวนทัศน์กันยกใหญ่ จะเปลี่ยนตลาดเป้าหมายใหม่ หรือจะคิดใหม่กับตลาดเดิม วันนี้จำเป็นต้องโฟกัสกัน บางองค์กรต่างชาติ เริ่มเปลี่ยนช่องทางตลาด ปรับเปลี่ยนผู้บริหารกันบ้างแล้ว "เป็นหัวหมาดีกว่าหางมังกร" วลีนี้ใช้อธิบายสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ในวันนี้ทั่วทั้งตัวมังกรก็กำลังยับเละไปด้วยแผล สภาพหางก็คงจะไม่ต่างกัน จะ Niche market หรือ Core competency แต่กว้างๆ คือต้อง Focus หรือการมุ่งเป้า ไปที่เป้าหมายชัดๆ เพียงเป้าหมายเดียว องค์กรธุรกิจมูล

6Qs สร้างสรรค์ผลงาน สร้างความเบิกบานให้ชีวิต

IQ: Intelligent Quotient (ความฉลาดทางด้านสติปัญญา) EQ: Emotional Quotient (ความฉลาดทางด้านอารมณ์) AQ: Adversity Quotient (ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา) CQ: Creativity Quotient (ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์) MQ: Moral Quotient (ความฉลาดทางด้านศีลธรรม) PQ: Play Quotient (ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น) ในการทำงานที่ต้องพบปะผู้คน เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ด้วยความราบรื่น ความฉลาดทางด้านอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าผู้เผชิญกับปัญหา ก็ต้องใช้ความฉลาดทางด้านนี้ เพื่อตอบสนอง ต่อปัญหาความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของผู้บริโภค สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นจากสมองทั้งสองซีก ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของสมองจะฝึกฝนและพัฒนา ความฉลาดควบคู่กันไปหรือจะมุ่งเน้น ไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากกว่ากัน จริยธรรมทางธุรกิจ วัฒนธรรมขององค์กร จรรยาบรรณของการทำงาน จะเกิดขึ้นมาเฉยๆ      เองไม่ได้ ถ้าไม่มีความฉลาดทางด้านศีลธรรม ที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี คนทุกคนล้วนมีความเป็นเด็กอยู่ในตัว ใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างถูกต้องในวิธีการ ไม

ความซื่อสัตย์เป็นสมบัติของคนดี

คนทำงานต้องหมั่นพัฒนาตนเอง ทั้งด้านทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ สิ่งเหล่านี้สร้างได้ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อเป็นสิ่งรับประกันว่าจะยังคงมีงานทำอยู่ หากอยากจะก้าวหน้า เหล่านี้ยังไม่เพียงพอ คนทำงานจะต้องสร้าง "ความไว้วางใจ" ให้เกิดขึ้นในใจของหัวหน้างานด้วย เครื่องมือที่ใช้คือ   "ความซื่อสัตย์" ด้วยความเสมอต้น เสมอปลาย รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา หากเราต้องการสิ่งใดจากใคร ก็ปฏิบัติต่อเขาในสิ่งเหล่านั้นก่อน หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน คือลูกค้าที่เราต้องใส่ใจ เข้ากับหัวหน้างานให้ได้ ช่วยหัวหน้าทำงาน ให้ข้อคิดเห็นได้ แต่อย่าฉลาด จนเกินงาม ทำงานดี ไม่ได้หมายความว่าจะก้าวหน้า ถ้าจะดี ก็ต้องดีให้หัวหน้างานเห็น ถ้าหัวหน้างานไม่เห็นว่าดี เก่งแค่ไหนก็ไม่ได้ดี นั่นเรายังไม่ได้รับ "ความไว้วางใจ" อย่างที่สมควร จะก้าวหน้า อย่าเกี่ยงงาน ต้องรับงานเพิ่มได้  ไม่ลังเล เพื่อแบ่งเบาภาระหัวหน้างาน อย่าคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ทำงานหนักต้องได้รับผลตอบแทน เรียกร้องรายได้เพิ่มจากหัวหน้างานได้ แต่อย่าร้องขอการเล

ภารกิจต่อเนื่องของนักพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์

นักพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ หลายท่านก็หันมาทำหน้าที่ขายได้ดี เพราะแม่นและแน่น ในข้อมูลสินค้าและตลาด จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ท้าทายคือความคาดหวัง ของผู้บริหารทีมขายต่อทักษะที่เรามี ว่าจะเป็นประโยชน์กับงานขาย จึงหวังว่าเราจะขายได้มาก โดยอาศัยทักษะดังกล่าว ใช้ทักษะและข้อมูล ในตัวเรานั่นแหละ ให้เป็นประโยชน์ กับการทำงาน ฉายภาพให้เจ้านายดู ว่าเราทำอะไรได้บ้าง จากขนาดตลาดที่เห็น และทรัพยากรที่เรามี อย่ารับปากไปเสียทุกอย่าง แต่ก็อย่าปฏิเสธไปเสียทุกเรื่อง งานที่เจ้านายมอบหมาย แน่นอนคือเป็นงานที่ เจ้านายมองว่าสำคัญ ห้ามปฏิเสธ ... เด็ดขาด รับงานมาแล้ว ก็ทำให้เต็มที่ ภายใต้องค์ความรู้ที่เรามี ความท้าทายของการทำงาน คือการปรับใช้ทักษะ ความรู้ กับงานที่ได้รับมอบหมายมา ถึงบอกแล้วไง ว่าอย่าปฏิเสธ นี่คือโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเอง ทั้งทักษะ ความรู้ และความก้าวหน้า หลังจากพัฒนาตลาดและสินค้ามาเสียนาน หน้าแรก สารบัญเนื้อหา

งานพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์

งานทดสอบเพื่อคัดเลือกสินค้าหรือสายพันธุ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ ต่อเนื่องจากส่วนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หน้าที่นี้ต้องใช้ทักษะสูง มีข้อมูลที่แม่น และแน่น ทั้งข้อมูลตลาด และผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในตลาด เพื่อถ่ายทอดให้กับฝ่ายตลาดและฝ่ายขาย ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ต้องผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างผู้สร้างและผู้ขาย นอกจากทักษะรวบรวม และถ่ายทอดข้อมูล ยังต้องมีทักษะการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานได้ดีอีกด้วย ผลจากการคัดเลือก สินค้าบางชนิดก็มี life cycle ยาวนาน บางชนิดก็หมดความนิยมในเวลาอันรวดเร็ว มักจะขึ้นกับ "ข้อจำกัด" ของสินค้า มากกว่า "ข้อด้อย" ของสินค้า นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีทักษะสูง สามารถชู "จุดเด่น" ข่ม "จุดด้อย" ได้ แต่ไม่สามารถกำจัด "ข้อจำกัด" ของสินค้าได้ เพราะเป็นลักษณะประจำตัวสินค้าที่แก้ไขไม่ได้ ในธุรกิจเกษตร ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ จะได้สัมผัสกับธรรมชาติ เกษตรกร มากกว่าพบกับร้านค้า ตัวแทนจำหน่าย เหมาะกับผู้ที่รักธรรมชาติมากกว่าผู้คน เช้าลงแปลง

ขายสินค้าได้ด้วยการแก้ไขปัญหา

ทำไมเกษตรกรจึงมีปฏิสัมพันธ์ หรือการตอบสนองผ่านกิจกรรมทำแปลงสาธิต มากกว่าการประชุมกลุ่มย่อย ??? ลองมองเข้าไปที่วัตถุประสงค์หลักสิ การจัดประชุมเกษตรกร (ส่วนใหญ่) เป็นการแนะนำบริษัท และสินค้าของบริษัท ศูนย์กลางของจักรวาล ณ เวลานั้น คือบริษัทและสินค้า มิใช่เกษตรกร เป็นตัวเรา นั่งฟังเรื่องคนอื่น 10 นาที จะทนฟังไหวไหม ... อาจจะฟังได้นะ    ... ถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องลับๆ  ของคนอื่น แต่ต้องเป็นเรื่องที่เราสนใจด้วยนะ นั่นไง ... Keyword คือ "ต้องเป็นเรื่องที่เราสนใจด้วยนะ" เราถึงจะอยากฟัง เกษตรกรก็เช่นเดียวกัน ลองเปิดการสนทนาด้วยปัญหา ที่เกษตรกรกำลังพบเจอและแก้ไม่ตกดูสิ จะเป็นที่สนใจของเกษตรกรมากกว่าไหม แล้วค่อยจับเอาสินค้าของเราเข้ามาแก้ ปัญหาที่พวกเขากำลังพบเจออยู่นั้น กระบวนการก็มีอยู่แล้ว ตั้งแต่โลกถือกำเนิดมา เมื่อมีทุกข์ ก็ต้องหาเหตุแห่งทุกข์       จนพบว่า ต้องมีการดับทุกข์  แล้วจึงแสวงหาทางดับทุกข์ โลกนี้ต้องการนักแก้ปัญหามากกว่านักขาย ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ นักขายในธุรกิจเกษตร กำลังประสบภาวะขาดแคลนอย่างหนัก แต่นักแ

ประโยชน์และการใช้ประโยชน์จากแปลงสาธิต

แปลงสาธิต มีด้วยกัน 2 ประเภท Internal trial (IT) ทำแปลงดูกันเอง External trial (ET)   ทำให้คนอื่นดู ดูกันเอง R&D หรือ PD จะทำแปลงทดสอบ สินค้าหรือสายพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อคัดเลือก ก่อนจะออกมาเป็นสินค้า   ที่พร้อมจำหน่าย R&D: Research & Development PD: Product development คนอื่นดู ดีมอนหรือนักส่งเสริมฯ ทำแปลงสาธิต ให้เกษตรกร หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายดู เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือสายพันธุ์ แปลงสาธิต: Demonstration plot กระบวนการคล้ายกัน ต่างกันที่คณะผู้ตัดสินใจ กลุ่มแรก ใช้ข้อมูล ทักษะ ความชำนาญ จินตนาการ กลุ่มหลัง ประสบการณ์ล้วนๆ หรือจะเอาไปต่อยอดกับ CEM (Customer's Experience Management) ขั้นตอนนี้ นอกจากจะหวังผลทางการขาย ก็เป็นการเก็บข้อมูลความสนใจ ความต้องการของผู้ค้าและผู้ใช้ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ การบริหารความสัมพันธ์ และประสบการณ์ของลูกค้า ได้เป็นอย่างดี หน้าแรก สารบัญเนื้อหา

การทำ Storytelling ผ่าน Demo Plot

แนวคิดการทำแปลงสาธิต หรือ Demo plot คือบอกเล่าเรื่องราวของบริษัทและสินค้าของเรา ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรเป้าหมาย ที่เรียกแนวคิดนี้อย่างเท่ห์ๆ ว่า Storytelling ที่แน่ๆ ประสิทธิภาพของสินค้าของเรา จะได้ปรากฎสู่สายตาของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย เพื่อหวังผลเลิศจากการซื้อเพื่อเพิ่มยอดขาย ชื่อบริษัทหรือแบรนด์ ตราสินค้าหรือโลโก้ จะถูกสื่อสารผ่านการทำกิจกรรมภาคสนาม โดยนักส่งเสริมการขายหรือดีมอน การทำแปลงสาธิตเป็นกิจกรรมที่เข้าถึง สี่ห้องดวงใจของเกษตรกรมากที่สุด เพราะเป็นกิจกรรมเดียวที่เกษตรกร มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่า Field day เมื่อเกษตรกรได้ชมภาพจริงในแปลงสาธิต จะเกิดการเปรียบเทียบกับแปลงปลูกของตน แล้วเกิดคำถาม ค้นหาคำตอบ หรือข้อแนะนำ เพื่อไขข้อข้องใจ ในการนำไปใช้งานจริง จึงเกิดการพูดคุย สอบถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ในช่วงเวลาสำคัญนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกร เปิดใจกับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ข้อมูลจะถูกถ่ายทอดออกมามากที่สุด จากการพูดคุย สอบถาม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น Feed - Feedback จึง

หลักธรรมนำการตลาด

* ขันธ์ 5 1) รูป รูปธรรม 2) เวทนา ความรู้สึก 3) สัญญา ความกำหนดรู้ 4) สังขาร การปรุงแต่งของจิต 5) วิญญาณ ความรู้แจ้งทางสัมผัสทั้ง 5 นี่มัน Marketing mix หรือ 4Ps ชัดๆ สินค้าและองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดเป็นสินค้า ทั้งปัจจัยที่จับต้องได้ และปัจจัยที่จับต้องไม่ได้ * อริยสัจ 4 1) ทุกข์ สภาวะแห่งทุกข์ 2) สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ 3) นิโรธ การดับทุกข์ 4) มรรค หนทางดับทุกข์ เป็นอื่นไม่ได้ นอกจาก Value chain * ไตรลักษณ์ 3 1) อนิจจัง ความไม่เที่ยง 2) ทุกขัง ความไม่คงอยู่ 3) อนัตตา ความไม่มีตัวตน เทียบได้กับ Product life cycle (PLC) ที่จะปรับให้เป็น BCG matrix เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ความต้องการคือความตั้งอยู่ แต่จะทำอย่างไรในเมื่อ สัจธรรมคือความเปลี่ยนแปลง * ศีล 5 1) ไม่ฆ่าสัตว์ 2) ไม่ลักทรัพย์ 3) ไม่ผิดในกาม 4) ไม่กล่าวเท็จ 5) ไม่ดื่มสุรา ข้อกำหนดจริยธรรมทางธุรกิจ * อิทธิบาท 4 1) ฉันทะ ความพอใจในงานที่ทำ 2) วิริยะ ความเพียรพยายามทำงานให้สำเร็จ 3) จิตตะ ความเอาใจใส่ในการทำงาน 4) วิมังสา ใช้ปัญญาตริตรองแก้ไขข้อบกพร่อง ว่าด้วยงานพัฒนาตลาดและผลิ

'พริก' พืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย

ปี 2553 ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตพริกทั้งประเทศ 474,717 ไร่ ได้ผลผลิตจากแปลงปลูกรวมกันทั้งหมด    609,195 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการค้า 3,324.67 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 2,597.95 ล้านบาท ที่เกิดจากซอสพริก พริกแห้ง พริกป่น พริกสด พริกแช่แข็ง ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีจากการขยายตลาดอาหารไทยสู่ตลาดโลก คู่ค้าที่สำคัญของไทยคือประเทศมาเลเซีย ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ ในขณะที่ยอดนำเข้าพริกแห้ง มีมูลค่าสูงถึง 1,718.74 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณ 68,944 ตัน จากความไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ทั้งหมดนี้คือโอกาสของเกษตรกรไทย เริ่มต้นจากแปลงผลิตขนาดเล็ก ในรูปแบบ intensive farming ใช้แรงงานในครอบครัว ควบคุมการใช้สาร ลดต้นทุนการผลิต จำหน่ายผลผลิตในท้องถิ่นในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ จดบันทึกข้อมูลการผลิต ต้นทุน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ราคาผลผลิต เพื่อการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพในฤดูถัดไป สร้างมาตรฐานฟาร์มที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ป้อนผลผลิตเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี เลือกใช้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด พริกเพื่อการแปรร

การตลาดตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา

การทำการตลาด คือการค้นหาและตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้บริโภค เราสามารถนำหลักพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นแนวทางในการค้นหา ความต้องการของผู้บริโภค จากหลักความจริง "อริยสัจ 4" การรับรู้ปัญหาและสภาวะที่เกิดขึ้น (ทุกข์) ค้นหาหนทางแก้ไขปัญหา (ดับทุกข์) ให้กับลูกค้าผู้เผชิญกับปัญหา ด้วยความตั้งใจมั่น ตามหลักธรรม "พรหมวิหาร 4" ด้วยหวังให้ลูกค้าพ้นทุกข์จากปัญหา ให้มีความสุขจากการได้รับบริการ ด้วยความยินดีปรีดา ของผู้ให้บริการ ที่ยึดหลัก "อิทธิบาท 4" รักในงานที่ทำ เพียรทำงานให้ลุล่วง ใส่ใจ แก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อให้ได้งานที่ออกมาดี เกิดเป็นประสบการณ์ ที่ลูกค้าประทับใจ ในการสัมผัส และเข้าถึง "ขันธ์ 5" เห็นเป็นรูปธรรม เกิดเป็นความรู้สึกประทับใจ แทรกซึมเข้าไปในจิตใจ แล้วเกิดเป็นความรัก ความผูกพันลึกซึ้ง จนเป็นความภักดี ต่อตราสินค้า เข้าถึงในจิตใจของมนุษย์ ศึกษาหลักธรรมให้แตกฉาน จึงจะเข้าใจหลักการตลาดที่แท้จริง หน้าแรก สารบัญเนื้อหา

Marketing is Common Sense

การตลาดคือการทำในสิ่งที่ควรทำ กูรูนักการตลาดหลายท่าน สามารถทำการตลาดสินค้า ที่ตนเองต้องรับผิดชอบขายได้ดี ทั้งที่ไม่ได้จบมาทางด้านการตลาด เพราะท่านได้ทำในสิ่งที่ควรทำ ทฤษฎี แนวคิด ข้อปฏิบัติในตำรา เป็นเพียงเนื้อหาที่ใช้อธิบาย ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ได้เข้าใจอย่างง่าย ลูกค้าอาวุโสท่านหนึ่งได้ว่าไว้ "บริษัทไม่ต้อง ใช้การตลาด กับลูกค้าหรอก จริงใจกับลูกค้าก็พอ" เรียนรู้และปรับใช้แนวปฏิบัติ ให้เข้ากับช่องทางที่แตกต่าง วิธีการที่ใช้ได้กับช่องทางหนึ่ง อาจจะใช้ได้ไม่ดี กับอีกช่องทางหนึ่ง นักการตลาดต้องยืดหยุ่น รอบรู้ ปรับตัวเร็ว สื่อสารได้ตรงจุด แตกฉานในหลักคำสอน ทางพระพุทธศาสนา ไม่ต้องเก่ง แต่ขอให้เข้าใจผู้คน เข้าใจที่มาของปัญหา ใช้เวลาให้มากกับตัวเอง แต่ใช้เวลาให้น้อยกับผู้อื่น เฝ้ามองดูการเปลี่ยนแปลง ชื่นชมยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เรียนรู้ไม่สิ้นสุด เข้มงวดต่อการฝึกฝนตนเอง กูรูทางด้าน Supply chain ได้ว่าไว้ ความเหมือนของ Marketing & Supply chain คือ การส่งมอบคุณค่าให้กับผู้บริโภค ทั้งสองสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน เริ่มต

Free Comfort More Success

‘Comfort Zone’ ฟังดูเบา สบาย ผ่อนคลายดีนะ ดูเป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากเลย แต่ที่จริงแล้ว เป็นปีศาจดุร้ายที่มาพร้อมกับรอยยิ้ม มันพร้อมจะฉุดรั้งความก้าวหน้าของเราได้ทุกเวลา ขอเพียงเราหลงไหลใฝ่ฝันไปกับมัน นั่นทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตเราสมบูรณ์แบบแล้ว ไม่ต้องการอะไรอีกแล้วในชีวิตนี้ ชีวิตเบา สบาย ผ่อนคลาย ไร้กังวล ชีวิตมนุษย์ถูกออกแบบมาให้ก้าวไปข้างหน้า ลองเดินถอยหลังดูสิ ง่ายหรือยากกว่าเดินไปข้างหน้า แต่ก็แปลกที่ยังมีอีกหลายคนเต็มใจที่จะเดินถอยหลัง หรือยังย่ำอยู่กับที่ ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันยากกว่า การก้าวไปข้างหน้า คือ การก้าวออกจาก ‘Comfort Zone’ ถามว่าลำบากไหม ? ออกจาก ‘Comfort Zone’ ไม่ได้หมายความว่า จะก้าวเข้าสู่ ‘Suffer Zone’ เสียหน่อย เพียงก้าวออกจากพื้นที่เดิมๆ ไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ บ้าง การทำสิ่งใหม่ๆ ก็มีด้วยกัน 3 แบบ ไม่ทำสิ่งที่เคยทำ ทำสิ่งที่ไม่เคยทำ ทำสิ่งที่เคยทำให้ดีขึ้น ก้าวเพียงก้าวเดียวออกจากพื้นที่เดิมๆ ก็เป็นการทำสิ่งที่ไม่เคยทำแล้ว อีกทั้ง ไม่ทำสิ่งที่เคยทำ คือ ยืนเฉยๆ ใน Comfort Zone เคยอ่านกฎ 80/ 20 ของพาเรโตไหม

Seed Generation ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ยุคของธุรกิจเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว นักธุรกิจเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งที่ก้าวข้ามทศวรรษ มาพร้อมกัน ยังพอมองเห็นความเปลี่ยนแปลง ถ้ายังพอจดจำกันได้ Seed 1.0 สายพันธุ์ OP ครองโลก Seed 2.0 การก้าวเข้ามาของ F1 Hybrid Seed 3.0 Seed-Production Productivity Seed 4.0 High-Value Seeds และก้าวเข้าสู่ยุค Seed 5.0 Business Merger & Acquisition ยุค 1.0 เกษตรกรปลูกผักสายพันธุ์พื้นบ้าน เก็บเมล็ดพันธุ์กันเอง แบ่งปัน แจกจ่ายกันแล้ว จึงบรรจุเพื่อจำหน่าย ในยุคเดียวกันนี้เริ่มมีบริษัท นำเข้าเมล็ดพันธุ์ OP เข้ามาจำหน่าย บรรจุลง กระป๋องวางจำหน่ายตามร้านค้าในพื้นที่เพาะปลูก ความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์มีมากขึ้น เมื่อเกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้ามาปลูก และเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในรุ่นต่อไป ยุค 2.0 บริษัทเมล็ดพันธุ์ระดับโลกเริ่มสยายปีก เข้ามาสู่ภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือทวีปเอเชีย มากกว่า 3,000 ล้านคน ด้วยที่ตั้งบนเส้นศูนย์สูตร สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงที่สุด แห่งหนึ่งของโลก เทคโนโลยีท