Seed Generation ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ยุคของธุรกิจเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
นักธุรกิจเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งที่ก้าวข้ามทศวรรษ
มาพร้อมกัน ยังพอมองเห็นความเปลี่ยนแปลง
ถ้ายังพอจดจำกันได้
Seed 1.0 สายพันธุ์ OP ครองโลก
Seed 2.0 การก้าวเข้ามาของ F1 Hybrid
Seed 3.0 Seed-Production Productivity
Seed 4.0 High-Value Seeds
และก้าวเข้าสู่ยุค
Seed 5.0 Business Merger & Acquisition
ยุค 1.0 เกษตรกรปลูกผักสายพันธุ์พื้นบ้าน
เก็บเมล็ดพันธุ์กันเอง แบ่งปัน แจกจ่ายกันแล้ว
จึงบรรจุเพื่อจำหน่าย ในยุคเดียวกันนี้เริ่มมีบริษัท
นำเข้าเมล็ดพันธุ์ OP เข้ามาจำหน่าย บรรจุลง
กระป๋องวางจำหน่ายตามร้านค้าในพื้นที่เพาะปลูก
ความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์มีมากขึ้น
เมื่อเกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้ามาปลูก
และเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในรุ่นต่อไป
ยุค 2.0 บริษัทเมล็ดพันธุ์ระดับโลกเริ่มสยายปีก
เข้ามาสู่ภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
คือทวีปเอเชีย มากกว่า 3,000 ล้านคน
ด้วยที่ตั้งบนเส้นศูนย์สูตร
สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น
ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงที่สุด
แห่งหนึ่งของโลก
เทคโนโลยีทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ถูกพัฒนา
ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการลงทุนให้
บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการ
ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดสายพันธุ์พืชใหม่ๆ
ขึ้นมามากมาย การแข่งขันในธุรกิจ
ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างสร้างสรรค์
เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการแข่งขันนี้
มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการ
ของตลาดมากกว่าในอดีต
ยุค 2.5 เป็นช่วงรอยต่อระหว่างยุคแห่งการพัฒนา
เมื่อเทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม หรือ GMOs
ถูกแนะนำให้ชาวโลกรู้จักในฐานะของ 'ความหวัง'
ในการสร้างอาหารเลี้ยงประชากรโลกให้เพียงพอ
พืชอาหารหลายชนิดถูกนำเข้าสู่กระบวนการ
ตัดแต่งพันธุกรรม หรือจัดวางคู่เบสรหัสจีโนม
ของพืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใหม่
ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในฐานการวิจัยพืช GMOs
บริษัทเคมีเกษตรอันดับโลกทุกบริษัทมีโปรแกรม
พืช GMOs โดยเฉพาะ 'ข้าว' พืชอาหารทึ่สำคัญ
ของคนไทยและประชากรในภูมิภาคเอเชีย
ยุค 3.0 เมล็ดพันธุ์เป็นสินค้าที่มีชีวิต
ผลิตขึ้นมาจากปัจจัยดินฟ้าอากาศ แตกต่างจาก
สินค้าชนิดอื่นที่ผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรม
ความเสี่ยง ความไม่แน่นอน ความคลาดเคลื่อน
ที่เกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศมีสูง ปริมาณและ
คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผลิต
ไม่มีความแน่นอน
เทคโนโลยีการผลิตจึงถูกพัฒนาขึ้นมา
เพื่อเป็นสิ่งรับประกันว่าจะสามารถผลิตได้ตาม
ปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ
การคัดเลือกสายพันธุ์จึงแตกต่างจากในยุคก่อน
ที่พิจารณาเฉพาะลักษณะสายพันธุ์ที่ต้องการ
เพิ่มเติมคือความคุ้มค่าของการลงทุนผลิต
สายพันธุ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดด้วย
นักพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงต้องพิจารณา
งานปรับปรุงพันธุ์ งานคัดเลือกสายพันธุ์
การตลาด การผลิต คู่ขนานไปพร้อมกัน
เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุนผลิต ขายสินค้าในราคา
ที่เหมาะสม คู่ค้าหรือผู้จำหน่ายสามารถทำกำไรได้
ยุค 4.0 เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยการผลิตต้นน้ำที่สำคัญ
การลงทุนจึงเริ่มต้นจากคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
ความงอกและความตรงต่อสายพันธุ์มีสูง
การประกันคุณภาพมีส่วนสำคัญต่อปัจจัยเหล่านี้
การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แบบ Seed Count
จึงถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยการรับประกันคุณภาพ
แบบเมล็ดต่อเมล็ด เพื่อสร้างความมั่นใจ
ให้กับเกษตรกรมืออาชีพผู้ปลูกพืชสายพันธุ์นั้น
ผู้ผลิตมีการจำกัดปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์
เฉพาะสายพันธุ์ดังกล่าว และจำหน่ายในราคาที่
สูงกว่าสายพันธุ์อื่นในตลาดอย่างเด่นชัด
ผลประกอบการของบริษัทเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่
ทำได้ดีกว่าในอดีต เมื่อจำกัดพื้นที่ผลิตเนื่องจาก
การวางแผนการผลิตทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น
ยุค 4.5 จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พร้อมองค์ประกอบ
ที่รับประกันความงอกและตรงต่อสายพันธุ์ อาทิ
เพาะต้นกล้าในวัสดุเพาะปลอดเชื้อ พืชเติบโตไว
เคลือบธาตุอาหารพืช สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ลงบนผิวเมล็ดพันธุ์
เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และป้องกัน
การเข้าทำลายของโรคพืชและแมลง
ในระยะแรกของการเจริญเติบโต คือ ระยะกล้า
ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ปลอดโรค ความงอกดี
เจริญเติบโตดี ตรงตามสายพันธุ์
ยุค 5.0 ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ถูกผนวกเข้าไปในกิจการ
โดยเฉพาะธุรกิจเคมีเกษตรโดยการเข้าซื้อกิจการ
ด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมลงตัว อาทิ
เป็นธุรกิจเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก
เชื่อมโยงสินค้าใช้งานร่วมกันได้
สัดส่วนผลกำไรของกิจการสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ
ธุรกิจหลัก กิจการอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว
มูลค่าทางการตลาดไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ
งบประมาณการเข้าซื้อกิจการเพื่อผลได้ทางภาษี
ส่วนหนึ่งพบว่า ภายหลังการเข้าซื้อกิจการ
ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในเครือถูกลดความสำคัญลง
เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงไม่มีความเข้าใจธุรกิจ
มูลค่าธุรกิจมีขนาดเล็ก จึงถูกลดหลั่นลำดับ
ความสำคัญลงไป ผู้บริหารหน่วยธุรกิจต้องบริหาร
กิจการภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด การประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ทำได้ยาก เนื่องจากระยะเวลาที่ใช้
ในการเข้าสู่ตลาดนานกว่ากิจการหลัก
เห็นได้ว่า ตั้งแต่ยุค 1.0 จนกระทั่งยุค 5.0
จากสินค้าไม่มีราคา หาได้ดาษดื่น แจกก็ไม่มีใครสน
มาเป็นสินค้าที่ขายแบบยกล็อต เหมาโหล
เพิ่มมูลค่าจากความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
ในราคาที่ยอมจ่าย
จนกระทั่งสามารถขายหน่วยธุรกิจได้ในราคาที่สูง
เอาไปทำมาหากินต่อได้เลย ทั้งหมดนี้
เป็นลำดับขั้นของการเพิ่มมูลค่า (Capital Gain)
ตั้งแต่สินค้ามูลค่าต่ำจนกระทั่งเป็นองค์กรธุรกิจ
ที่บรรษัทขนาดใหญ่ซื้อกิจการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง
ของหน่วยธุรกิจที่สร้างภาพลักษณ์และผลกำไร
นับจากยุค 5.0 ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ก็ยังก้าวต่อไป
สายพันธุ์ใหม่ๆ ก็ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้รองรับกับรูปแบบการผลิตในอนาคต
ในยุค 6.0 ที่กำลังจะมาถึง การคัดสายพันธุ์แท้
จากธรรมชาติโดยเกษตรกรมืออาชีพจะทวี
บทบาทความสำคัญให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น
เกษตรกรรายย่อยจะสามารถเป็นเจ้าของ
สายพันธุ์แท้ได้จากการค้นหา รวบรวม คัดเลือก
คัดพันธุ์แท้ ผลิตพันธุ์ขยายและพันธุ์การค้า
เพื่อจำหน่ายในแบรนด์ของตน รวมถึงการออก
สิทธิบัตร & การคุ้มครองพันธุ์พืช
ตามพ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และ
พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
Comments
บริษัทเคมีเกษตรและบริษัทเมล็ดพันธุ์ของโลก
http://e.agropages.com/news/detail-21679.htm#AddRe