ภารกิจของนักพัฒนา จากต้นน้ำสู่ท้ายน้ำ

ในทุกธุรกิจ หน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือการคัดเลือกสินค้าจากคลังวิจัยสู่ตลาด
โดยใช้ทักษะการวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์
(Product evaluation & Product development)
เป็น quadrant หนึ่งภายใน Ansoff's Growth Matrix ได้แก่

Market penetration    (Exist market/ Exist product)
Market development  (New market/ Exist product)
Product development (Exist market/ New product)
Diversification             (New market/ New product)

ขออนุญาตเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน แปลเป็นไทย ดังนี้ครับ

เจาะตลาด             (ขายสินค้าที่มีเข้าไปในช่องทางตลาดที่มี)
พัฒนาตลาด         (เฟ้นหาช่องทางตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มี)
พัฒนาผลิตภัณฑ์ (คัดเลือกสินค้าใหม่ให้กับช่องทางตลาดที่มี)
ขยายตลาด        (ขายสินค้าใหม่เข้าไปในช่องทางตลาดใหม่)

ทุกหน้าที่ล้วนมีความสำคัญต่ออนาคตและปัจจุบันของทุกกิจการ

งานของนักพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเริ่มต้นจากการสำรวจและค้นหา
ข้อมูลตลาด (Market information)
ขนาดและมูลค่าของตลาด (Market size)
ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market share)
สายพันธุ์ผู้นำและคู่แข่งขันในตลาด (Leading & Checking varieties)
ความต้องการที่แท้จริงของตลาด (Market desires)

ในขั้นตอนนี้ 4Ps, BCG, STP จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
ในรูปของ Matrix chart เพื่อความเข้าใจตรงกันในขั้นตอนเดียว
ถ้าเทพมากๆ  ก็จัด SWOTs, PLC, Value Chain กันได้ไม่ว่ากัน

จากนั้นก็เป็นงาน Field technical คืองานทดสอบในภาคสนามล้วนๆ
ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาและความพยายามมากที่สุด
อาจจะใช้ระยะเวลายาวนานถึง 1 - 2 ปี ขึ้นกับฤดูกาลและพื้นที่ปลูก
(ถ้ารวมตั้งแต่ new test cross จนถึง commercial อาจต้องใช้เวลาถึง 7 ปี)

ในการทดสอบจะใช้ Farmer practices หรือวิธีการที่เกษตรกรใช้เป็นปกติ
ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะกล้า ย้ายปลูก ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ฉีดยา เก็บเกี่ยว จำหน่าย
ผลิตภัณฑ์หรือสายพันธุ์ที่เกษตรกรไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการแบบเดิมๆ
จะมีความได้เปรียบมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกษตรกรรู้สึกอึดอัดกับการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเกษตรกรเริ่มคุ้นเคยกับสายพันธุ์ จึงปรับเทคนิคการเพิ่มผลผลิตในภายหลัง

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงควรมีความรู้ในเรื่อง
ธาตุอาหารพืช อารักขาพืช การจัดการปลูก
นอกเหนือจากความรู้ในเรื่องของสายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ และการผลิตอีกด้วย

ในการตรวจแปลงเปรียบเทียบสายพันธุ์
พืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะเปรียบเทียบที่ต้องตรวจสอบแตกต่างกันออกไป
มี Checking list ที่ใช้ในระบบการให้คะแนน Rating score อย่างรัดกุม อาทิ
อายุเก็บเกี่ยว  สุขภาพความแข็งแรง ความต้านทาน/ อ่อนแอต่อโรค
ลักษณะเด่น/ ด้อยที่ปรากฎ ความสม่ำเสมอ ลักษณะที่ตลาดต้องการ
ความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย

ความท้าทายของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์
อยู่ที่การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในลำดับขั้นสุดท้าย
สายพันธุ์ที่ได้คะแนนสูงในการประเมินคุณสมบัติประจำพันธุ์
อาจจะไม่ได้เป็นสายพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อการค้า
เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่ได้คะแนนคุณสมบัติต่ำกว่า
เพียงแค่มีลักษณะที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า

ทั้งนี้ก็ขึ้นกับประสบการณ์  ข้อมูลที่มีอย่างเพียงพอ
การวิเคราะห์อย่างถูกหลักของนักพัฒนาผลิตภัณฑ์

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีทักษะสูง
มักจะมีความสามารถด้านการค้นหา features ที่เป็นประโยชน์
เพื่อการพัฒนาตลาดช่องทางใหม่ให้กับสินค้าได้อีกหลายชนิด
เพราะได้ฝึกฝนการอธิบายและสร้างเนื้อหาให้กับสินค้ามาจนเชี่ยวชาญ

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการคัดเลือกสินค้า
สามารถผันตัวไปเป็นนักการตลาด  หรือนักพัฒนาธุรกิจและตลาดได้กว้างขวาง

ที่สำคัญ ... ได้ทำงานไปด้วย เรียนรู้ไปด้วย เดินทางไปด้วย จะเที่ยวก็อย่าว่ากัน


Comments

Popular posts from this blog

Enjoy Your Work, Enjoy Your Life

การตลาดวิถีพุทธ

6Qs สร้างสรรค์ผลงาน สร้างความเบิกบานให้ชีวิต