Posts

Showing posts from May, 2018

ประเทศไทยกับการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์

คนไทยกับงานวิจัยและพัฒนาทางการตลาด ย่างก้าวที่เข้มแข็งในตลาดแรงงานของภูมิภาคเอเชีย ในทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทเมล็ดพันธุ์ระดับโลกต่างกรีธาทัพมุ่งตรงมาที่เอเชีย ด้วยเห็นโอกาสและการเติบโตของประเทศในภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก ซึ่งรวมทั้งจีน อินเดีย และเหล่าประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC สิ่งแรกที่บริษัทเหล่านี้ทำคือหาข้อมูลโดยการสำรวจความต้องการของตลาด ลักษณะสายพันธุ์ที่ต้องการ ปริมาณการใช้ มูลค่าตลาด เพื่อที่จะสร้างสายพันธุ์ที่เหมาะสม สามารถตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของตลาดมากที่สุด จึงต้องมีเจ้าหน้าที่เทคนิค ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญมาทำหน้าที่เหล่านี้ ที่เราเรียกกันว่า เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ ( Product Development Specialist) หรือเรียกสั้นๆ ในวงการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ว่า PDS หรือ PD ( บางบริษัทเรียก PE หรือ Product Evaluator) เป็นที่น่าสังเกตว่า PDS Asia ที่บริษัทเหล่านี้เลือกใชับริการมักจะเป็นคนไทย คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนี้คือ มีประสบการณ์ทางด้านการขายหรือการตลาดเป็นอย่างดี มีทักษะทางด้านงานวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญคือต้อง "สื่อสารภา

บทบาทของกิจการกำหนดตำแหน่งในตลาด

ยักษ์ใหญ่ ยักษ์เล็ก ยักษ์จิ๋ว มีร้านค้า 2 ร้านตั้งอยู่ในพื้นที่การขายเดียวกัน ร้าน "หนึ่งรวี" และร้าน "สองทวี" พื้นที่ดำเนินธุรกิจก็ดูเหมือนจะทับซ้อนกันอยู่ แต่ทั้ง 2 ร้านก็ค้าขายดำเนินธุรกิจมาได้โดยมีปัญหากระทบกระทั่งกันน้อยมาก รูปแบบการจัดองค์กรก็แตกต่างกันอย่างชัดเจน ร้าน "หนึ่งรวี" เน้นการขายส่ง มีคู่ค้าเป็นจำนวนมาก ซัพพลายเออร์หลากสัญชาติ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายมีทั้งในพื้นที่โดยรอบ พื้นที่ใกล้เคียง และพื้นที่ไกลโพ้น ลูกค้าผู้ใช้สินค้าทั้งองค์กรและบุคคล รายใหญ่ รายกลาง รายย่อย มีจุดขายปลีกอยู่ใกล้สถานีรถประจำทางสำหรับบริการลูกค้ารายย่อย จุดขายส่งสะดวกต่อการสัญจร มีคลังสินค้าและพื้นที่จอดรถขนถ่ายสินค้า มีสถานที่จอดรถยนต์ของลูกค้าเป็นสัดส่วนเพียงพอต่อการหมุนเวียนเข้าออก เร็วๆ นี้ก็จะเปิดจุดกระจายสินค้าแห่งใหม่ย่านชานเมืองบนพื้นที่ขนาด 40 ไร่ มีบริการทุกอย่างในพื้นที่เดียวกันแบบ one stop service ใช้ระบบไอทีเข้ามาควบคุมการขายอย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ ตรวจสอบได้ ใช้พนักงานประจำน้อย ใช้ประโยชน์จากพนักงานตัวแทนข

ธุรกิจเกษตรบนพื้นฐานองค์ความรู้

ข้อมูลนี้น่าสนใจครับ ธุรกิจเกษตรนำลิ่วๆ จากท้ายแถว เห็นแบบนี้แล้ว เราควรจะใส่เกียร์ว่าง ถอยหลัง หรือเดินหน้าดี มองมุมลบ คือ โอกาสทางธุรกิจลดลง ถ้านี่คือการกล่าวถึง ทั้งอุตสาหกรรม ก็ดูจะไม่นอกเหนือ ความคาดหมาย ของพวกเราทุกคนนัก หากใช้พื้นที่เพาะปลูก และเม็ดเงินเป็นตัวตั้ง มองอย่างเป็นกลาง คือ ช่วงเปลี่ยนผ่านของยุค จาก traditional era สู่ knowledge era เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ มองด้านบวก คือ โอกาสเป็นของผู้ที่โฟกัส มุ่งเน้นความชำนาญเฉพาะ เข้าตลาดที่เฉพาะเจาะจง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จากองค์ความรู้ กำหนดข้อตกลง FTA ของ AEC ใกล้เข้ามา อีกหน่อยเราคงได้เลิก ขายข้าวแข่งกับเวียตนาม มาโฟกัสในช่องทาง ที่เราได้เปรียบอย่างสมบูรณ์ (Absolutely advantage) ผัก ไม้ผล พืชสวนนานาชนิด แต่ถ้าล้วงลึกลงไป ความได้เปรียบจริงๆ ของเรา กลับเป็น technical knowledge นักเกษตรของเรา เก่งที่สุดในโลกครับ ผมยืนยัน พลิกแพลง แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้อย่างแยบยล ปรับเรื่องการจัดการ องค์ความรู้นิดหน่อย ชาติไหนก็ตามไม่ทัน ลำดับของธุรกิจแสดงผล เป็นระบบ rating score ของนักวิจัย

ทำงานดี มีผลงาน เบิกบานใจ

ผลงานที่จำเป็นและมีผลต่อความก้าวหน้า - แผนการขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง - ( ทำให้บริษัทรู้สึกว่าขาดเราไม่ได้) @ ทำงานดี @ สนองนโยบายผู้บริหาร เข้าใจ รู้ทันความคิด ความต้องการของผู้บริหาร โดยการพูดคุย สอบถามบ่อยๆ เพื่อสามารถตอบสนองได้ในทันที ติดตามงานที่ได้รับมอบหมายอย่างต่อเนื่อง รายงานเป็นระยะในเวลาที่สมควร วางแผนการทำงานโดยจัดลำดับความสำคัญของงานอย่างต่อเนื่องทุกวัน ใช้ตารางความสำคัญ/ เร่งด่วน กำหนดลำดับความสำคัญของงาน ข้อมูลสินค้า ทำให้พนักงานฝ่ายขายเข้าใจสินค้าและขายได้ มุ่งเน้นไปที่สินค้าใหม่ กำไรดี ประชาสัมพันธ์บริษัทให้เป็นที่รู้จัก เนื้อหาที่สื่อสารต้องตรงใจลูกค้า ผู้บริหาร โดยต้องแสดงภาพลักษณ์ที่ดี ทำงานส่งให้ได้ทีละชิ้น สัปดาหะ 2 ชิ้นต่อเนื่องทุกสัปดาห์ สร้างงาน Masterpiece ให้ได้ปีละ 2 งาน นำเสนอในงานประชุมประจำปี เปิดฤดูกาลขาย/ กลางปีการขาย ผลิตภาพของงานสูง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน ทำงานโดยใช้เงินให้น้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย ทำอย่างไรให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่าย @ มีผลงาน @ ค้นหาช่องทางการขายใหม่ๆ ให้กับบริษัท เช่น ตลาดต่างประเทศ ตลาดอื่นๆ ช่