Posts

Showing posts from June, 2018

วิสัยทัศน์ของนักแก้ปัญหา

ต้องสารภาพเลยว่างานนักเกษตรภาคสนามต้องใช้จินตนาการสูงมาก ทั้งตรวจโรค แมลง ตรวจสภาพสิ่งผิดปกติของพืชปลูกในแปลงเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ก็บอกข้อมูลไม่หมด นึกจะลองภูมินักเกษตร ก็บอกมาครึ่งๆ กลางๆ ปล่อยให้นักเกษตรวิเคราะห์ท่ามกลางความมืดมิด ความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนเอามาใช้จริงๆ ไม่ถึง 10% ... ... ยืนยันอีกครั้งว่าแค่ 10% !!! ต้องวาดภาพในอากาศว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนที่เราจะมาถึงแปลง นอกจากเดินสำรวจ ก็ต้องใช้วิธีสัมภาษณ์จากเกษตรกรทุกมุมที่เราพอจะนึกออก ปัญหาจริงๆ ก็แทบจะค้นไม่เจอจากในตำรา ยอมรับโดยดุษฎีว่าอาจารย์ที่แท้จริงของเราคือเกษตรกร อีกทั้งสภาพแวดล้อมในแปลงปลูก บ้านเราก็มีความหลากหลายเสียเหลือเกิน แต่สิ่งที่ครูบาอาจารย์สอนเรามาในห้องเรียนคือการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยหัวใจ เดี๋ยวนี้เทคโนโลยี social media มันก้าวหน้า นั่งดูภาพแล้ววิเคราะห์ปัญหาได้หมดจดก็นับว่าเป็นเซียน วิเคราะห์ผิดพลาดแล้วโดนโห่หน่ะเรื่องเล็ก นักเกษตรตัวจริงโดนกันมาสารพัดแล้ว ผมเองก็เคยยืนต่อหน้าปืนลูกซองมาแล้ว แต่สิ่งที่เราได้รับมันยิ่งใหญ่กว่านั้น ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาให้เกษตรกรได้ แต่เราสามารถทำให้เกษตรกรยอมรั

มิตรภาพที่เกิดจากนามบัตร

เวลาเราเจอเพื่อนใหม่ ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการทำงาน ได้แก่ ลูกค้า ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ ผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการธุรกิจที่มีชื่อเสียง จะมีการแลกเปลี่ยนนามบัตรระหว่างกัน เราทำอย่างไรกับนามบัตรที่ได้มา เก็บเอาไว้เฉยๆ ในรถ ในกระเป๋าสตางค์ ในแฟ้มเก็บเอกสาร หรือรวบรวมเอาไว้ในสมุดเก็บนามบัตรเป็นของสะสมอย่างหนึ่ง นามบัตร 1 ใบที่ได้จากมือลูกค้ารายใหญ่ คู่ค้าคนสำคัญ ผู้บริหารระดับสูง คนเก่งที่เราแอบปลื้ม ทำประโยชน์อะไรให้กับเราได้บ้างนอกจากการดูชื่อ นามสกุล ตำแหน่งงาน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล แล้วจะพบว่าบนพื้นที่ว่างๆ ด้านหน้านามบัตรหรือด้านหลังสามารถใช้บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดระหว่างเรากับเขา คือการพบกันเป็นครั้งแรกได้ เช่น วันที่พบกัน เวลาที่พบ ระยะเวลาที่สนทนา กิจกรรมที่เข้าร่วมแล้วทำให้ได้พบกัน เสื้อผ้าที่เขาสวมใส่ หัวข้อที่สนทนากัน เหตุการณ์ที่ชวนจดจำ ความประทับใจ หรืออาจจะเป็นชื่อเล่นของเขาที่เราและไม่มีใครเคยรู้มาก่อน เพื่อว่าวันหนึ่งในอนาคตอันใกล้หรือไกล เมื่อเราต้องติดต่องานหรือธุรกิจ เราสามารถใช้บันทึกเล็กๆ นี้แนะนำตัวต่อเขาอีกครั้งได้ อย่ารอให้เขายื่นนามบัตรมาให้ก่อน เพราะเขายังไม

สิ่งที่ควรรู้ของเด็กไทยเพื่อการประกอบสัมมาชีพในอนาคต

ภาพสะท้อนเมืองไทย เทียบกับมาเลเซียที่น่าคิด เด็กรุ่นใหม่ของมาเลเซีย เด็กรุ่นต่อไปของเรา ต้องรู้หลายภาษา และเข้าใจการเงิน สัปดาห์ก่อน มีเรื่องเล่าจากคนไทยที่ ไปทำงานที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย เค้านั่งรถเมล์รอบเกาะ เจอนักเรียนกลุ่มใหญ่ อายุประมาณม.ต้นขึ้นรถเมล์ คุยกับคนขับรถเป็น “ภาษามาเลย์ (Bahasa Malayu)” ยืนบนรถ หันมาคุยกับเพื่อนเป็น “ภาษาอังกฤษ” แอบมองหนังสือ พวกเขาถือหนังสือเรียน “ภาษาจีน” วันรุ่งขึ้น เค้าถามเพื่อน ที่ทำงานด้วยกัน เขาบอกว่า นั่นคือ ”ปกติ” ของโรงเรียนที่มาเลเซีย แต่ที่ทำให้ตกใจอย่างมาก คือ เด็กที่นั่น “เรียนฟรี” ด้วยมาตรฐานที่ลูกคนจนถึงคนชั้ นกลาง ส่งลูกเรียนได้คุณภาพเสมอภาคกั นได้ และบางโรงเรียน ... เริ่มนำวิชา “การเงิน” มาสอนให้เด็กเรียนรู้ตั้งแต่เด็ กๆด้วย เด็กประถม...เรียน...วิชาใช้เงิ น เด็กม.ต้น...เรียน...วิชาหาเงิน เด็กม.ปลาย...เรียนวิชาบริ หารเงิน ได้ฟังข้อมูลนี้แล้ว นึกถึงเด็กไทยที่ยังเรียน ระบบท่องจำ...ต้องเรียนกวดวิชา จากครูที่สอนครึ่งหนึ่งในห้อง ที่เหลือนำมาหารายได้ จากการกวดวิชา เอาข้อสอบจริงมาสอนล่วงหน้า นอกจากนี้ การสอบแข่งขัน เข้ามหาวิทยาลัยคือ...

ภาษาอังกฤษสำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน

บ่อยครั้งที่พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ถามผมว่า "ทำไม (พี่ , น้อง) เอ้ พูดภาษาอังกฤษได้ เคยเรียน (พิเศษ) มารึปล่าว" ทุกครั้งผมก็ได้แต่ตอบด้วยประโยคบอกเล่ากึ่งให้กำลังใจว่า "นักเรียนไทยพูดภาษาอังกฤษได้กันหมดทุกคนแหละ" ด้วยความรู้ที่เล่าเรียนกันมาตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมหาวิทยาลัย อย่างน้อยก็จนจบม. 6 หรือม. 3 ผมยืนยันว่าเท่าที่เราเรียนมา แค่นี้เพียงพอสำหรับการสื่อสารแล้วจริงๆ เพราะภาษาอังกฤษที่ผมใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติเป็นประจำ ก็เป็นระดับที่เรียนจากชั้น ป. 5 จนกระทั่งถึงชั้น ม. 3 ทั้งสิ้น เพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่นเคยถามผมตอนไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นว่า "เอ้จัง (ชื่อเรียกผมที่นั่น) คุณเรียนพิเศษภาษาอังกฤษก่อนมาที่ญี่ปุ่นหรือเปล่า" ผมตอบว่า "เปล่า ผมพูดภาษาอังกฤษประโยคแรกกับชาวต่างชาติจริงๆ ก็ที่สนามบินนาริตะตอนที่คนของคุณมารับผมหน่ะแหละ" พวกเค้าทำหน้าไม่เชื่อกัน แต่จริงๆ มันคือการเอาตัวรอด ภาษาญี่ปุ่นไม่กระดิก ก็เหลือแค่ภาษาอังกฤษนี่แหละที่ยังพอจะพึ่งได้ ว่าแล้วก็ทบทวนประโยค เพื่อซ้อมการออกเสียงยาวๆ ซักประโยคนึงก่อน This is a Book อ่ะ โอเช มั่นใจขึ้นเยอะ แต่ผมเอง

ผู้ประกอบการหลังบ้าน

ผู้ประกอบการในประเทศไทยพูดเป็นเสียงเดียวกัน คนมาสมัครงานหายากชะมัด เด็กจบใหม่ไปไหนหมด ผู้บริหารแอบน้อยใจกันหลายรายว่าบริษัทตัวเองคงเล็ก ไม่เด่น ไม่ดัง จะไม่หันหลังกลับไป อ้ะ ไม่ใช่เนื้อเพลงพี่ผึ้ง ถ้ากรุณามาทำ ก็ทำงานกันแป๊บๆ หาประสบการณ์หน่ะป๋า ว่าแล้วก็ลาหล่ะครับ ผมจะไปเปิดกิจการ ผู้บริหารถึงกับอาฆาตเป็นรายสถาบัน ว่าจะไม่รับเด็กที่จบจากที่นี่อีก สุดท้ายก็ต้องกลืนน้ำลาย ถ้าไม่รับ   ก็ไม่มีใครทำงานให้ป๋าหล่ะครับ ผมมาถึงบางอ้อ ตอนได้ยืนคุยอย่างไม่เป็นทางการที่หน้าร้านแดรี่ควีน กับอาจารย์มหา ' ลัยแสนสวย (อยู่นะ) ที่ยืนดูดไอติมโคนแสนอร่อยอยู่ข้างเคาเตอร์ ผู้คลุกคลีกับนักศึกษามาตั้งแต่ยังเป็นละอ่อนน้อย จนจะเป็นอาจารย์แม่อยู่แล้ว " ไหนใครจบออกไปแล้วจะเป็นผู้ประกอบการบ้าง" คำถามชี้อนาคตประเทศเลยนะเนี่ยะ ยกมือกันพรึ่บทั้งห้อง นี่คือคำตอบจากนักศึกษาปี 2 คณะวิทยาการจัดการ เอาหล่ะ ป๋าๆ ครับ เลิกสงสัยได้แล้วนะครับ ว่าน้องๆ ผมหายไปไหนกันหมด เล่นตั้งเป้าหมายกันตั้งแต่ยังไม่รู้จักว่าการทำงานคืออะไร ก็อย่าหวังว่าพวกน้องๆ เขาอยากจะรู้จักการทำงานอะไรนั่นหรอก พวกเขา