การทำการเกษตรหากเอาใจใส่ก็รวยได้ไม่ยาก
เมื่อปรมาจารย์เมล็ดพันธุ์พืชผักเมืองหนาวทำเรื่องธรรมดา
ที่ไม่ธรรมดา
แค่ต้องการจะปลูกทดสอบเมล่อน แคนตาลูปในสภาพแปลงเปิด ไร้ค้าง
ดูแลตามปกติ ไม่มีอะไรพิเศษ ไว้กิ่งแขนง ดอก ผลเท่าที่ต้นจะรักษาไว้ได้
สารป้องกันกำจัดโรค แมลง ฮอร์โมน อาหารเสริม เพียงสามสี่ขวด
ต้นจึงออกสองแขนง ให้ผลผลิตสองถึงสามผลต่อต้นเท่าที่เห็น
ราคาไม่ต้องพูดถึง ขายตามราคาที่ผู้ปลูก ผู้ขาย ผู้ซื้อพอใจ
ไม่ถูก ไม่แพง แจกบ้าง แถมบ้างตามสมควรของการค้า
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากกูรูในแปลงทดสอบ ก็คือ
ตราบที่ต้นทุนยิ่งเข้าใกล้ศูนย์มากเท่าไร
ความได้เปรียบของการค้าก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อต้นทุน = ราคาขาย - กำไร
ต้นทุนยิ่งต่ำ กำไรยิ่งสูง
หรืออีกนัยหนึ่ง
เมื่อราคาขาย = ต้นทุน + กำไร
ราคาขายจะลดต่ำลงได้ เมื่อต้นทุนลดต่ำลง
อย่าเพิ่งไปพูดถึงจุดตัด Equilibrium ของเส้นอุปสงค์ อุปทาน
Feasibility Study การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
ต้นทุนรวม (TC) = ต้นทุนคงที่ (FC) + ต้นทุนผันแปร (VC) ฯลฯ
ความสามารถในการปรับตัวของสายพันธุ์
Phenotype = Genotype + Environment แปลว่า
ลักษณะที่ปรากฎ = พันธุกรรม + สภาพแวดล้อม
สายพันธุ์ที่ดี จะแสดงลักษณะที่ดีออกมาในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ซึ่งเป็นสิ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ออกแบบ คำนวณ และทดสอบไว้เรียบร้อยแล้ว
ปัจจัยเหล่านี้ นอกจากจะเป็นข้อได้เปรียบก็ยังเป็นข้อด้อยในเวลาเดียวกัน
ในแปลงนี้ พบว่าลักษณะทางพันธุกรรมเป็นตัวชี้นำคุณภาพของผลผลิต 100%
เป็นเรื่องที่นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องรายงานให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเพื่อแก้ไขต่อไป
การป้องกันสำคัญกว่าการแก้ไข
เมื่อเกิดความเสียหายจากศัตรูพืช ไม่ว่าจะระดับใด
ความสูญเสียคือผลผลิตที่หายไป อย่างไร้ร่องรอย
ความเอาใจใส่สำคัญเหนือปัจจัยการผลิตทั้งหมด
ดินดี อากาศดี ปุ๋ยดี น้ำดี ยาดี ก็ไม่ดีเท่าเจ้าของสวนเดินดูแปลงทุกวัน
เกษตรกรที่คุ้นเคยครอบครัวหนึ่ง เลือกที่จะลากสายยางรดน้ำผักที่ปลูก
ทุกวันในช่วงเช้า และช่วงบ่าย โดยไม่ใช้ระบบสปริงเกลอร์ สายน้ำหยด
ซึ่งช่วยทุ่นแรง และเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตได้มากกว่า
เพียงเพื่อจะได้เดินดูต้นพืชที่ปลูกให้ได้ทุกต้นในแต่ละวัน
บนพื้นที่พอเหมาะพอดี สำหรับแรงงาน ต้นทุน ตลาดที่มีอยู่
เกษตรกรรม ตั้งใจทำให้ดี ก็รวย
แค่ต้องการจะปลูกทดสอบเมล่อน แคนตาลูปในสภาพแปลงเปิด ไร้ค้าง
ดูแลตามปกติ ไม่มีอะไรพิเศษ ไว้กิ่งแขนง ดอก ผลเท่าที่ต้นจะรักษาไว้ได้
สารป้องกันกำจัดโรค แมลง ฮอร์โมน อาหารเสริม เพียงสามสี่ขวด
ต้นจึงออกสองแขนง ให้ผลผลิตสองถึงสามผลต่อต้นเท่าที่เห็น
ราคาไม่ต้องพูดถึง ขายตามราคาที่ผู้ปลูก ผู้ขาย ผู้ซื้อพอใจ
ไม่ถูก ไม่แพง แจกบ้าง แถมบ้างตามสมควรของการค้า
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากกูรูในแปลงทดสอบ ก็คือ
ตราบที่ต้นทุนยิ่งเข้าใกล้ศูนย์มากเท่าไร
ความได้เปรียบของการค้าก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อต้นทุน = ราคาขาย - กำไร
ต้นทุนยิ่งต่ำ กำไรยิ่งสูง
หรืออีกนัยหนึ่ง
เมื่อราคาขาย = ต้นทุน + กำไร
ราคาขายจะลดต่ำลงได้ เมื่อต้นทุนลดต่ำลง
อย่าเพิ่งไปพูดถึงจุดตัด Equilibrium ของเส้นอุปสงค์ อุปทาน
Feasibility Study การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
ต้นทุนรวม (TC) = ต้นทุนคงที่ (FC) + ต้นทุนผันแปร (VC) ฯลฯ
ความสามารถในการปรับตัวของสายพันธุ์
Phenotype = Genotype + Environment แปลว่า
ลักษณะที่ปรากฎ = พันธุกรรม + สภาพแวดล้อม
สายพันธุ์ที่ดี จะแสดงลักษณะที่ดีออกมาในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ซึ่งเป็นสิ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ออกแบบ คำนวณ และทดสอบไว้เรียบร้อยแล้ว
ปัจจัยเหล่านี้ นอกจากจะเป็นข้อได้เปรียบก็ยังเป็นข้อด้อยในเวลาเดียวกัน
ในแปลงนี้ พบว่าลักษณะทางพันธุกรรมเป็นตัวชี้นำคุณภาพของผลผลิต 100%
เป็นเรื่องที่นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องรายงานให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเพื่อแก้ไขต่อไป
การป้องกันสำคัญกว่าการแก้ไข
เมื่อเกิดความเสียหายจากศัตรูพืช ไม่ว่าจะระดับใด
ความสูญเสียคือผลผลิตที่หายไป อย่างไร้ร่องรอย
ความเอาใจใส่สำคัญเหนือปัจจัยการผลิตทั้งหมด
ดินดี อากาศดี ปุ๋ยดี น้ำดี ยาดี ก็ไม่ดีเท่าเจ้าของสวนเดินดูแปลงทุกวัน
เกษตรกรที่คุ้นเคยครอบครัวหนึ่ง เลือกที่จะลากสายยางรดน้ำผักที่ปลูก
ทุกวันในช่วงเช้า และช่วงบ่าย โดยไม่ใช้ระบบสปริงเกลอร์ สายน้ำหยด
ซึ่งช่วยทุ่นแรง และเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตได้มากกว่า
เพียงเพื่อจะได้เดินดูต้นพืชที่ปลูกให้ได้ทุกต้นในแต่ละวัน
บนพื้นที่พอเหมาะพอดี สำหรับแรงงาน ต้นทุน ตลาดที่มีอยู่
เกษตรกรรม ตั้งใจทำให้ดี ก็รวย
Comments