จะทำอย่างไรกับชีวิตที่เหลืออยู่
บ่ายวันหนึ่ง
ท่ามกลางแดดระอุ ภายในห้องทำงานหรูหรา แอร์เย็นฉ่ำ
เพื่อนรักนักบริหาร เจ้าของกิจการสถานศึกษามูลค่าหลายร้อยล้านบาท
ถามผมขึ้นมาในความเงียบต่อหน้าเครื่องคิดเลขและแก้วกาแฟลาเต้เย็นฉ่ำชื่นใจ
"เอ้ มึงจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ และต้องมีเงินเท่าไหร่ เพื่อจะให้มีพอใช้ไปตลอดชีวิต"
(ขออนุญาตใช้คำราชาศัพท์ไทยโบราณประกอบคำบรรยายเพื่อความสมจริง)
ในความเงียบของแอร์ราคาแพง ผมได้ยินแม้กระทั่งเสียงหัวใจเต้นรัวของตัวเอง
บอกตรงๆ ว่าผมอึ้งแดกกับคำถามตรงๆ แต่แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิตของเพื่อน
ผมพึมพำกับตัวเองเบาๆ "แม่งเท่าไหร่วะ" ผมไม่เห็นหน้าตัวเองในตอนนั้น
แต่เชื่อว่า คงไม่ต่างอะไรจากหมางงหรือจำไมกับอะไรบางอย่างสักเท่าไหร่
(ใครเกิดทันดูและรู้จักเจ้าหนูจำไมในการ์ตูนอิ๊กคิวซัง เด็กบ้านี่มันสงสัยทุกเรื่อง)
เพื่อนรักเห็นผมนั่งบื้อเป็นหมาเหงา เลยกระซิบเบาๆ ข้ามโต๊ะทำงานสุดหรู
"เอาที่มึงใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือนมาก็ได้" แล้วเปรยขึ้นมาลอยๆ "ไอ้ฟาย"
ผมเข้าใจของผมเองว่า เพื่อนรักของผมน่าจะพูดว่า "I fine" เพื่อให้ผมผ่อนคลาย
แล้วบอกข้อมูลที่ต้องการจะบอกมากที่สุดออกมา อย่าได้เกรงใจกุเลย อะไรงี้
แหม๋ ... เป็นผู้บริหารยังไง สปีคอิงลิชก็ไม่ชัด มันต้อง "ไอ แอม ฟาย" สิเพื่อน
ผมเลยแจ้งยอดเงินรายเดือนที่ต้องการไปที่เพื่อนรักที่รอฟังตัวเลขจากผมอยู่
นักบริหารผู้ช่ำชองการดำเนินกิจการร้อยล้านกดเครื่องคิดเลขอย่างคล่องแคล่ว
แล้วแจ้งจำนวนเงินที่ผมต้องหามากอดไว้ เพื่อใช้จ่ายตลอดชีวิตที่เหลือ
โอ้ว !!! แม่เจ้า ผมต้องบุกปล้นรถขนเงินสักกี่ธนาคารเพื่อให้มีเท่าที่เพื่อนบอก
นี่ขนาดยังไม่ได้ใช้ NPV หรือเพิ่มภาระอย่างอื่นเข้ามาคำนวณด้วยนะ
นึกถึงหน้าพี่พอล ภัทรพล เจ้าของแนวคิด "เหนื่อยชั่วคราว สบายชั่วโคตร"
นั่นคือ ผมต้องหาเงินเป็นจำนวนมากๆ ไว้ให้เพียงพอ แล้วเกษียณไปเลย
ถ้าผมเกิดอายุยืนกว่าที่คำนวณเอาไว้หล่ะ เงินหมด กลายเป็นคนอนาถาทันที
เมื่อดูอัตราเงินเฟ้อ จากกฎตัวเลข 72 มูลค่าเงินจะลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 18 ปี
แต่สำคัญที่สุด ผมจะเอาเงินเยอะขนาดนั้นมาจากไหน ผมหาเงินไม่เก่ง
อย่างที่พี่โจ มณฑาณีว่าไว้ในหนังสือ "เงิน เรื่องใหญ่ที่โรงเรียนไม่เคยสอน"
พ่อแม่ไม่ได้สอนให้หาเงิน สอนแต่ให้หาความสุข ถ้าหาแบบนี้ผมเก่งกว่าหาเงิน
กูรูเขาก็สอนว่าต้องทำงานด้วยใจรัก เงินเป็นแค่ผลพลอยได้
ปัญหาที่ตามมาก็คือ แล้วผมรักงานอะไร โอ้ว !!! ชีวิตทำไมมีแต่คำถาม
สายลมเอื่อยๆ พัดวูบมาให้มีสติ ทำให้ผมคิดถึงการใช้ชีวิตตามแบบที่ต้องการ
ถ้าจะรอไปพักให้สบายตอนที่มีอะไรครบแล้ว ก็ไม่รู้เมื่อไหร่กัน
รีบใช้ชีวิตตามแบบที่ต้องการเสียแต่วันนี้ดีกว่า แล้วทำงานเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ
ตามแบบฉบับของคุณภาณุมาศ เจ้าของแนวคิด "การลาออกครั้งสุดท้าย"
โดยการ "ทำงานไม่ประจำ ทำเงินกว่า" ตามที่คุณบอย วิสูตรแนะนำ
แล้วนำเงินที่ได้ไป "ลงทุนเพื่อชีวิต" เหมือนที่ ดร. นิเวศน์ ท่านได้ว่าไว้
เราจะได้ "เกษียณเร็ว เกษียณรวย" ดังที่คุณโรเบิร์ต อรรถาธิบายไว้ในหนังสือ
โกวเล้งท่านกล่าวไว้ ชีวิตคนเราแบ่งเป็น 7 ช่วง ช่วงละ 10 ปี
ได้อ่านแล้วก็ตกใจ ช่วงชีวิตที่ผ่านมา ผมทำอะไรของผมอยู่ (วะ) เนี่ย
อันนั้นไม่เท่าไหร่ แล้วช่วงชีวิตที่เหลือจะเป็นอย่างไรต่อไป (อีก) (วะ) เนี่ย
ชีวิตมนุษย์นี่มันคือสุดยอดยนตรกรรม ... เร้าใจทุกเส้นทาง ... กิงๆ
ไหนๆ ก็มีชีวิตเป็นของตัวเองทั้งที ก็ใช้ๆ มันไป เดี๋ยวจะเสียชาติเกิด
เพื่อนรักนักบริหาร เจ้าของกิจการสถานศึกษามูลค่าหลายร้อยล้านบาท
ถามผมขึ้นมาในความเงียบต่อหน้าเครื่องคิดเลขและแก้วกาแฟลาเต้เย็นฉ่ำชื่นใจ
"เอ้ มึงจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ และต้องมีเงินเท่าไหร่ เพื่อจะให้มีพอใช้ไปตลอดชีวิต"
(ขออนุญาตใช้คำราชาศัพท์ไทยโบราณประกอบคำบรรยายเพื่อความสมจริง)
ในความเงียบของแอร์ราคาแพง ผมได้ยินแม้กระทั่งเสียงหัวใจเต้นรัวของตัวเอง
บอกตรงๆ ว่าผมอึ้งแดกกับคำถามตรงๆ แต่แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิตของเพื่อน
ผมพึมพำกับตัวเองเบาๆ "แม่งเท่าไหร่วะ" ผมไม่เห็นหน้าตัวเองในตอนนั้น
แต่เชื่อว่า คงไม่ต่างอะไรจากหมางงหรือจำไมกับอะไรบางอย่างสักเท่าไหร่
(ใครเกิดทันดูและรู้จักเจ้าหนูจำไมในการ์ตูนอิ๊กคิวซัง เด็กบ้านี่มันสงสัยทุกเรื่อง)
เพื่อนรักเห็นผมนั่งบื้อเป็นหมาเหงา เลยกระซิบเบาๆ ข้ามโต๊ะทำงานสุดหรู
"เอาที่มึงใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือนมาก็ได้" แล้วเปรยขึ้นมาลอยๆ "ไอ้ฟาย"
ผมเข้าใจของผมเองว่า เพื่อนรักของผมน่าจะพูดว่า "I fine" เพื่อให้ผมผ่อนคลาย
แล้วบอกข้อมูลที่ต้องการจะบอกมากที่สุดออกมา อย่าได้เกรงใจกุเลย อะไรงี้
แหม๋ ... เป็นผู้บริหารยังไง สปีคอิงลิชก็ไม่ชัด มันต้อง "ไอ แอม ฟาย" สิเพื่อน
ผมเลยแจ้งยอดเงินรายเดือนที่ต้องการไปที่เพื่อนรักที่รอฟังตัวเลขจากผมอยู่
นักบริหารผู้ช่ำชองการดำเนินกิจการร้อยล้านกดเครื่องคิดเลขอย่างคล่องแคล่ว
แล้วแจ้งจำนวนเงินที่ผมต้องหามากอดไว้ เพื่อใช้จ่ายตลอดชีวิตที่เหลือ
โอ้ว !!! แม่เจ้า ผมต้องบุกปล้นรถขนเงินสักกี่ธนาคารเพื่อให้มีเท่าที่เพื่อนบอก
นี่ขนาดยังไม่ได้ใช้ NPV หรือเพิ่มภาระอย่างอื่นเข้ามาคำนวณด้วยนะ
นึกถึงหน้าพี่พอล ภัทรพล เจ้าของแนวคิด "เหนื่อยชั่วคราว สบายชั่วโคตร"
นั่นคือ ผมต้องหาเงินเป็นจำนวนมากๆ ไว้ให้เพียงพอ แล้วเกษียณไปเลย
ถ้าผมเกิดอายุยืนกว่าที่คำนวณเอาไว้หล่ะ เงินหมด กลายเป็นคนอนาถาทันที
เมื่อดูอัตราเงินเฟ้อ จากกฎตัวเลข 72 มูลค่าเงินจะลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 18 ปี
แต่สำคัญที่สุด ผมจะเอาเงินเยอะขนาดนั้นมาจากไหน ผมหาเงินไม่เก่ง
อย่างที่พี่โจ มณฑาณีว่าไว้ในหนังสือ "เงิน เรื่องใหญ่ที่โรงเรียนไม่เคยสอน"
พ่อแม่ไม่ได้สอนให้หาเงิน สอนแต่ให้หาความสุข ถ้าหาแบบนี้ผมเก่งกว่าหาเงิน
กูรูเขาก็สอนว่าต้องทำงานด้วยใจรัก เงินเป็นแค่ผลพลอยได้
ปัญหาที่ตามมาก็คือ แล้วผมรักงานอะไร โอ้ว !!! ชีวิตทำไมมีแต่คำถาม
สายลมเอื่อยๆ พัดวูบมาให้มีสติ ทำให้ผมคิดถึงการใช้ชีวิตตามแบบที่ต้องการ
ถ้าจะรอไปพักให้สบายตอนที่มีอะไรครบแล้ว ก็ไม่รู้เมื่อไหร่กัน
รีบใช้ชีวิตตามแบบที่ต้องการเสียแต่วันนี้ดีกว่า แล้วทำงานเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ
ตามแบบฉบับของคุณภาณุมาศ เจ้าของแนวคิด "การลาออกครั้งสุดท้าย"
โดยการ "ทำงานไม่ประจำ ทำเงินกว่า" ตามที่คุณบอย วิสูตรแนะนำ
แล้วนำเงินที่ได้ไป "ลงทุนเพื่อชีวิต" เหมือนที่ ดร. นิเวศน์ ท่านได้ว่าไว้
เราจะได้ "เกษียณเร็ว เกษียณรวย" ดังที่คุณโรเบิร์ต อรรถาธิบายไว้ในหนังสือ
โกวเล้งท่านกล่าวไว้ ชีวิตคนเราแบ่งเป็น 7 ช่วง ช่วงละ 10 ปี
ได้อ่านแล้วก็ตกใจ ช่วงชีวิตที่ผ่านมา ผมทำอะไรของผมอยู่ (วะ) เนี่ย
อันนั้นไม่เท่าไหร่ แล้วช่วงชีวิตที่เหลือจะเป็นอย่างไรต่อไป (อีก) (วะ) เนี่ย
ชีวิตมนุษย์นี่มันคือสุดยอดยนตรกรรม ... เร้าใจทุกเส้นทาง ... กิงๆ
ไหนๆ ก็มีชีวิตเป็นของตัวเองทั้งที ก็ใช้ๆ มันไป เดี๋ยวจะเสียชาติเกิด
Comments