ออมอดเพื่อลดหนี้
ออมอดเพื่อลดหนี้
ผมมีกระปุกออมสินใบโปรดอยู่ใบหนึ่ง หน้าที่หลักๆ เลยคือออมเงิน
ทำหน้าที่ได้ดี ไม่มีขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่นิดเดียว
มีแต่ผมซึ่งเป็นเจ้านาย หย่อนยานไปบ้างในเรื่องของความสม่ำเสมอ
ช่วงแรกก็หยอดดี หยอดทุกวัน พอไม่คล่องตัวก็เว้นๆ ไปบ้าง
ช่วงฝืดปานกลางก็หายไปหลายเดือน ถ้าฝืดหนักก็ได้แงะกันหล่ะครับ
พร่องไปเยอะพอดู ต้องมาเริ่มต้นหยอดใหม่อยู่หลายครั้ง ตลกดี
หลังๆ มานี่ ได้แงะปีละครั้ง เพราะกระปุกเต็ม ดีใจ ดีใจ
แงะออกมา ก็เอามานับ แยกใส่ถุงเอาไว้ เก็บไว้ที่บ้าน ไม่ได้เอาไปฝากธนาคาร
เพราะถ้าฝากเหรียญจะโดนค่านับบาทนึงต่อหนึ่งร้อยบาท เสียดายตังค์
แงะเพราะกระปุกเต็มหลังๆ เริ่มสังเกต เราก็ไม่ได้ลดความฟุ่ยเฟือยลงนะ
เพราะตั้งใจอยู่แต่แรกแล้วว่าจะใช้จ่ายตามปกติ หลังจากได้แยกส่วนเพื่อการออมไว้แล้ว
แต่พบว่าสิ่งที่ตามมาคือหนี้สินลดลง ซึ่งปกติก็เป็นคนหนี้น้อยอยู่แล้ว
ก็เลยพบว่าเพราะมัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาหยอดกระปุก ก็เลยไม่ได้สนใจจะอยากได้อะไรอีก
เห็นเหรียญที่กองอยู่ตรงหน้าหลังจากที่แงะออกมากองปีละครั้ง ก็รู้สึกอุ่นใจ
ถึงแม้จะไม่ได้มากอะไร แต่รวมกันหลายๆ กอง ก็รู้สึกสบายใจว่าเรามีทุนสำรองอยู่ในบ้าน
อยากได้อะไรก็เอาไปซื้อได้ จะได้ไม่ต้องผ่อน ไม่ต้องเป็นหนี้ เกรงใจเจ้าหนี้เค้า
จะว่าไปก็ตามตำราเป๊ะ ผู้รู้ทางการเงินท่านบอกว่าอยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อเอา
วันที่เก็บเงินจนครบ ถ้าเรายังอยากได้สิ่งนั้นอยู่ ก็ถือเป็นรางวัลแห่งการอดออม
แต่ถ้าเราไม่อยากได้สิ่งนั้นแล้ว รางวัลที่ได้คือความมั่นคงในอนาคต
ไม่ใช่เพราะเราจะมีเงินมากขึ้น แต่เราได้บ่มเพาะนิสัยของความมั่งคั่งขึ้นมาต่างหาก
นั่นก็คือ"การอดออม"
จนถึงตอนนี้ผมเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "ความร่ำรวย" และ "ความมั่งคั่ง"
"ความร่ำรวย" เกิดขึ้นได้จากการสร้างให้งอกเงยบนพื้นฐานของความฉลาดทางการเงิน
"ความมั่งคั่ง" เกิดขึ้นได้จากความพอเพียง ไม่ได้ต้องการสิ่งอื่นใดที่มากไปกว่าเพื่อการยังชีพ
ส่วนหลังจาก "ร่ำรวย" หรือ "มั่งคั่ง" แล้วจะไปทำอะไรต่อไป ก็ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของแต่ละคนแล้ว
คนที่รู้สึกว่ายังไม่พอก็จะหาต่อไป ส่วนคนที่รู้สึกพอแล้ว ก็จะนำสิ่งที่มีเกินพอนั้นไปสร้างสิ่งดีๆ ให้กับคนอื่น
ตามทฤษฎี "ลำดับขั้นของความต้องการของมาสโลว์" เป๊ะ แต่สิ่งนี้คือทางลัดที่จะก้าวไปสู่ขั้นสูงสุด
เพราะเมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้สึก "อยากให้" นั่นคือสัญญาณบ่งชี้แล้วว่าเรามีความ "อยากได้" ลดลง
เริ่มหยอดกระปุกเพื่อบ่มเพาะนิสัยของการให้ตั้งแต่วันนี้เถอะครับ
มันเป็นกุศโลบายชั้นยอดที่จะช่วยลดความอยากได้อะไรต่อมิอะไรที่มันไม่จำเป็นต่อชีวิตของเราลงได้ตั้งเยอะ
ผมมีกระปุกออมสินใบโปรดอยู่ใบหนึ่ง หน้าที่หลักๆ เลยคือออมเงิน
ทำหน้าที่ได้ดี ไม่มีขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่นิดเดียว
มีแต่ผมซึ่งเป็นเจ้านาย หย่อนยานไปบ้างในเรื่องของความสม่ำเสมอ
ช่วงแรกก็หยอดดี หยอดทุกวัน พอไม่คล่องตัวก็เว้นๆ ไปบ้าง
ช่วงฝืดปานกลางก็หายไปหลายเดือน ถ้าฝืดหนักก็ได้แงะกันหล่ะครับ
พร่องไปเยอะพอดู ต้องมาเริ่มต้นหยอดใหม่อยู่หลายครั้ง ตลกดี
หลังๆ มานี่ ได้แงะปีละครั้ง เพราะกระปุกเต็ม ดีใจ ดีใจ
แงะออกมา ก็เอามานับ แยกใส่ถุงเอาไว้ เก็บไว้ที่บ้าน ไม่ได้เอาไปฝากธนาคาร
เพราะถ้าฝากเหรียญจะโดนค่านับบาทนึงต่อหนึ่งร้อยบาท เสียดายตังค์
แงะเพราะกระปุกเต็มหลังๆ เริ่มสังเกต เราก็ไม่ได้ลดความฟุ่ยเฟือยลงนะ
เพราะตั้งใจอยู่แต่แรกแล้วว่าจะใช้จ่ายตามปกติ หลังจากได้แยกส่วนเพื่อการออมไว้แล้ว
แต่พบว่าสิ่งที่ตามมาคือหนี้สินลดลง ซึ่งปกติก็เป็นคนหนี้น้อยอยู่แล้ว
ก็เลยพบว่าเพราะมัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาหยอดกระปุก ก็เลยไม่ได้สนใจจะอยากได้อะไรอีก
เห็นเหรียญที่กองอยู่ตรงหน้าหลังจากที่แงะออกมากองปีละครั้ง ก็รู้สึกอุ่นใจ
ถึงแม้จะไม่ได้มากอะไร แต่รวมกันหลายๆ กอง ก็รู้สึกสบายใจว่าเรามีทุนสำรองอยู่ในบ้าน
อยากได้อะไรก็เอาไปซื้อได้ จะได้ไม่ต้องผ่อน ไม่ต้องเป็นหนี้ เกรงใจเจ้าหนี้เค้า
จะว่าไปก็ตามตำราเป๊ะ ผู้รู้ทางการเงินท่านบอกว่าอยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อเอา
วันที่เก็บเงินจนครบ ถ้าเรายังอยากได้สิ่งนั้นอยู่ ก็ถือเป็นรางวัลแห่งการอดออม
แต่ถ้าเราไม่อยากได้สิ่งนั้นแล้ว รางวัลที่ได้คือความมั่นคงในอนาคต
ไม่ใช่เพราะเราจะมีเงินมากขึ้น แต่เราได้บ่มเพาะนิสัยของความมั่งคั่งขึ้นมาต่างหาก
นั่นก็คือ"การอดออม"
จนถึงตอนนี้ผมเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "ความร่ำรวย" และ "ความมั่งคั่ง"
"ความร่ำรวย" เกิดขึ้นได้จากการสร้างให้งอกเงยบนพื้นฐานของความฉลาดทางการเงิน
"ความมั่งคั่ง" เกิดขึ้นได้จากความพอเพียง ไม่ได้ต้องการสิ่งอื่นใดที่มากไปกว่าเพื่อการยังชีพ
ส่วนหลังจาก "ร่ำรวย" หรือ "มั่งคั่ง" แล้วจะไปทำอะไรต่อไป ก็ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ของแต่ละคนแล้ว
คนที่รู้สึกว่ายังไม่พอก็จะหาต่อไป ส่วนคนที่รู้สึกพอแล้ว ก็จะนำสิ่งที่มีเกินพอนั้นไปสร้างสิ่งดีๆ ให้กับคนอื่น
ตามทฤษฎี "ลำดับขั้นของความต้องการของมาสโลว์" เป๊ะ แต่สิ่งนี้คือทางลัดที่จะก้าวไปสู่ขั้นสูงสุด
เพราะเมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้สึก "อยากให้" นั่นคือสัญญาณบ่งชี้แล้วว่าเรามีความ "อยากได้" ลดลง
เริ่มหยอดกระปุกเพื่อบ่มเพาะนิสัยของการให้ตั้งแต่วันนี้เถอะครับ
มันเป็นกุศโลบายชั้นยอดที่จะช่วยลดความอยากได้อะไรต่อมิอะไรที่มันไม่จำเป็นต่อชีวิตของเราลงได้ตั้งเยอะ
Comments