Lifetime Reading for Life
มาอ่านหนังสือกันเถอะ
... นะ
เคยนึกสนใจหรืออยากเรียนรู้อะไรเป็นพิเศษไม๊ครับ หากรู้ว่าสามารถหาความรู้นั้นได้จากการอ่านหนังสือ
แล้วท่านจะทำอย่างไร
1) ช่างมันเถอะ ไม่มีเวลาอ่านหรอก ไหนจะงานประจำ ไหนจะดูแลครอบครัว
2) หู๋ววว เล่มตั้งหลายร้อย ไม่ซื้อหรอก เอาไว้จ่ายโปรรายเดือนสมาร์ทโฟนได้ตั้งเดือน (เดือนเดียวเอง ?)
3) ถ้างั้นยืนอ่านที่ร้านขายหนังสือก็ได้ ถ้าคนขายมายืนมองหน้าค่อยมาอ่านต่อวันหลัง
4) ไปดูในเว็บไซต์ร้านขายหนังสือ ดูเนื้อหาย่อๆ เอาก็ได้ แล้วค่อยมโนเนื้อหาทั้งเล่มเอา เราอ่ะเก่งอยู่แล้ว
5) หรือถ้าตัดใจซื้อหนังสือเล่มละหลายร้อยมา ... เฮ่อ แล้วจะไปอ่านตอนไหน (วะ) ไม่มีเวลา
นั่นสิ !!! จะไปอ่านตอนไหน เล่มนึงก็ใช่ว่าจะมีแค่ 4 - 5 หน้า จะไปอ่านตอนไหนกัน เฮ่ออออยาวๆ อีกครั้ง (-_-!)
จะว่าไปแล้วการอ่านหนังสือก็เหมือนการปฏิบัติในขั้นตอนของการมุ่งตรงเข้าไปสู่เป้าหมายน่ะแหละ
หากเป้าหมายคือการที่เราจะมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการทำงาน การเงิน การใช้ชีวิต
โลกทุกวันนี้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ความรู้ที่เคยใช้ทำมาหากินได้ดูจะล้าหลังไปแล้ว อาชีพใหม่เกิดขึ้นมาอีกมากมาย
คนเก่งๆ อยู่แวดล้อมตัวเราในโลกของการทำงาน หากเราไม่พัฒนาตัวเอง วันนึงก็คงจะเป็นส่วนเกินของโลกใบนี้
อย่างน้อยการเป็นผู้ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนไปกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกก็ยังพอจะทำให้เรามีที่ยืน
หากยังอยู่ในสถานะของพนักงานบริษัท
ก็จะช่วยให้องค์กรพิจารณาที่จะรักษาเราเอาไว้โดยไม่ใช้ขัออ้างเรื่องการปรับองค์กรมาทำให้เราตกงาน
หรือวันหนึ่งความรู้ที่เราศึกษาเพิ่มเติม นำมาประกอบอาชีพอิสระเพื่อเลี้ยงตัวได้ ก็ไม่ต้องลุ้นตกงานอีกต่อไป
สิ่งที่จะช่วยเราได้คือการอ่านหนังสือเพื่อหาความรู้นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนและการทำงาน
จากสถิติคนไทยอ่านหนังสือกันแค่ 8 บรรทัดต่อคนต่อปีโดยเฉลี่ย นึกแล้วน่าใจหาย จากค่าเฉลี่ยบอกได้ว่าคนไทยที่ไม่อ่านหนังสือมีสัดส่วนมากกว่าคนไทยที่อ่านหนังสือหลายเท่าตัว ตัวผมเองอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 20 เล่ม คิดแค่เล่มละ 200 หน้า หน้าละ 20 บรรทัด เท่ากับผมอ่านหนังสือปีละ 80,000 บรรทัด ดูแล้วก็ยังห่างจาก 8 บรรทัดหลายเท่าตัว ผมเชื่อว่าในประเทศไทยยังมีคนที่อ่านหนังสือมากกว่านี้อีกหลายคน แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นสักเท่าไรนัก แต่ก็น่าดีใจที่วันนี้ยังมีหนังสือแนว How - To หลายๆ เล่มที่เขียนออกมาตรงกับความสนใจในกระแสของคนไทย อาทิเช่น หนังสือแนะแนวทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน แนวคิดการประกอบอาชีพอิสระ การพัฒนาตนเองในการทำงาน และอีกมากมายหลายแนว ก็หวังว่าสำรวจกันครั้งต่อไป คนไทยจะอ่านหนังสือกันเยอะขึ้น
การอ่านหนังสือทำให้คนเรารู้รอบและรู้ลึก ขึ้นกับความต่อเนื่องของการอ่าน ถ้าเนื้อหาถูกใจ เราก็อ่านได้เรื่อยๆ ไม่ถูกใจก็วางไว้หรือมอบให้ผู้อื่นที่เขาสนใจเรื่องนี้ เกิดเป็นสังคมแบ่งปันความรู้ หากเมื่อไรที่คนในสังคมรู้สึกอยากแบ่งปัน สังคมก็จะสงบสุข เพราะทุกคนคิดถึงแต่การให้ ปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นมีความสุข บอกได้เลยว่าคนอ่านหนังสือทุกคนคิดแบบนี้ครับ เพราะพวกเขาอยู่ในโลกที่กว้างมากๆ กว้างเสียจนพวกเขาคิดว่าโอกาสมีอยู่มากมายเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก ก็เลยไม่เคยหวงโอกาสเอาไว้กับตัวคนเดียว มักจะแบ่งปันให้ผู้อื่นอยู่เนืองๆ อยู่ที่บุญวาสนาของผู้รับ ว่าจะรับโอกาสนั้นหรือเปล่า แต่ข้อเสียไม่ใช่จะไม่มี เพราะอ่านหนังสือเยอะ รู้เยอะ มองเห็นโอกาสดีๆ เยอะ อันนั้นก็ดี อันนี้ก็แจ๋ว เลยไม่รู้จะทำอะไรก่อนดี สมกับคำว่า "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" นั่นแหละ
เคยนึกสนใจหรืออยากเรียนรู้อะไรเป็นพิเศษไม๊ครับ หากรู้ว่าสามารถหาความรู้นั้นได้จากการอ่านหนังสือ
แล้วท่านจะทำอย่างไร
1) ช่างมันเถอะ ไม่มีเวลาอ่านหรอก ไหนจะงานประจำ ไหนจะดูแลครอบครัว
2) หู๋ววว เล่มตั้งหลายร้อย ไม่ซื้อหรอก เอาไว้จ่ายโปรรายเดือนสมาร์ทโฟนได้ตั้งเดือน (เดือนเดียวเอง ?)
3) ถ้างั้นยืนอ่านที่ร้านขายหนังสือก็ได้ ถ้าคนขายมายืนมองหน้าค่อยมาอ่านต่อวันหลัง
4) ไปดูในเว็บไซต์ร้านขายหนังสือ ดูเนื้อหาย่อๆ เอาก็ได้ แล้วค่อยมโนเนื้อหาทั้งเล่มเอา เราอ่ะเก่งอยู่แล้ว
5) หรือถ้าตัดใจซื้อหนังสือเล่มละหลายร้อยมา ... เฮ่อ แล้วจะไปอ่านตอนไหน (วะ) ไม่มีเวลา
นั่นสิ !!! จะไปอ่านตอนไหน เล่มนึงก็ใช่ว่าจะมีแค่ 4 - 5 หน้า จะไปอ่านตอนไหนกัน เฮ่ออออยาวๆ อีกครั้ง (-_-!)
จะว่าไปแล้วการอ่านหนังสือก็เหมือนการปฏิบัติในขั้นตอนของการมุ่งตรงเข้าไปสู่เป้าหมายน่ะแหละ
หากเป้าหมายคือการที่เราจะมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการทำงาน การเงิน การใช้ชีวิต
โลกทุกวันนี้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ความรู้ที่เคยใช้ทำมาหากินได้ดูจะล้าหลังไปแล้ว อาชีพใหม่เกิดขึ้นมาอีกมากมาย
คนเก่งๆ อยู่แวดล้อมตัวเราในโลกของการทำงาน หากเราไม่พัฒนาตัวเอง วันนึงก็คงจะเป็นส่วนเกินของโลกใบนี้
อย่างน้อยการเป็นผู้ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนไปกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกก็ยังพอจะทำให้เรามีที่ยืน
หากยังอยู่ในสถานะของพนักงานบริษัท
ก็จะช่วยให้องค์กรพิจารณาที่จะรักษาเราเอาไว้โดยไม่ใช้ขัออ้างเรื่องการปรับองค์กรมาทำให้เราตกงาน
หรือวันหนึ่งความรู้ที่เราศึกษาเพิ่มเติม นำมาประกอบอาชีพอิสระเพื่อเลี้ยงตัวได้ ก็ไม่ต้องลุ้นตกงานอีกต่อไป
สิ่งที่จะช่วยเราได้คือการอ่านหนังสือเพื่อหาความรู้นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนและการทำงาน
จากสถิติคนไทยอ่านหนังสือกันแค่ 8 บรรทัดต่อคนต่อปีโดยเฉลี่ย นึกแล้วน่าใจหาย จากค่าเฉลี่ยบอกได้ว่าคนไทยที่ไม่อ่านหนังสือมีสัดส่วนมากกว่าคนไทยที่อ่านหนังสือหลายเท่าตัว ตัวผมเองอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 20 เล่ม คิดแค่เล่มละ 200 หน้า หน้าละ 20 บรรทัด เท่ากับผมอ่านหนังสือปีละ 80,000 บรรทัด ดูแล้วก็ยังห่างจาก 8 บรรทัดหลายเท่าตัว ผมเชื่อว่าในประเทศไทยยังมีคนที่อ่านหนังสือมากกว่านี้อีกหลายคน แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นสักเท่าไรนัก แต่ก็น่าดีใจที่วันนี้ยังมีหนังสือแนว How - To หลายๆ เล่มที่เขียนออกมาตรงกับความสนใจในกระแสของคนไทย อาทิเช่น หนังสือแนะแนวทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน แนวคิดการประกอบอาชีพอิสระ การพัฒนาตนเองในการทำงาน และอีกมากมายหลายแนว ก็หวังว่าสำรวจกันครั้งต่อไป คนไทยจะอ่านหนังสือกันเยอะขึ้น
การอ่านหนังสือทำให้คนเรารู้รอบและรู้ลึก ขึ้นกับความต่อเนื่องของการอ่าน ถ้าเนื้อหาถูกใจ เราก็อ่านได้เรื่อยๆ ไม่ถูกใจก็วางไว้หรือมอบให้ผู้อื่นที่เขาสนใจเรื่องนี้ เกิดเป็นสังคมแบ่งปันความรู้ หากเมื่อไรที่คนในสังคมรู้สึกอยากแบ่งปัน สังคมก็จะสงบสุข เพราะทุกคนคิดถึงแต่การให้ ปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นมีความสุข บอกได้เลยว่าคนอ่านหนังสือทุกคนคิดแบบนี้ครับ เพราะพวกเขาอยู่ในโลกที่กว้างมากๆ กว้างเสียจนพวกเขาคิดว่าโอกาสมีอยู่มากมายเพียงพอสำหรับคนทั้งโลก ก็เลยไม่เคยหวงโอกาสเอาไว้กับตัวคนเดียว มักจะแบ่งปันให้ผู้อื่นอยู่เนืองๆ อยู่ที่บุญวาสนาของผู้รับ ว่าจะรับโอกาสนั้นหรือเปล่า แต่ข้อเสียไม่ใช่จะไม่มี เพราะอ่านหนังสือเยอะ รู้เยอะ มองเห็นโอกาสดีๆ เยอะ อันนั้นก็ดี อันนี้ก็แจ๋ว เลยไม่รู้จะทำอะไรก่อนดี สมกับคำว่า "ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" นั่นแหละ
Comments