Future Sight

อยู่กับปัจจุบัน ก้าวทันอนาคต

ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่เหนื่อยหนักของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ไม่เฉพาะคนค้าคนขายปัจจัยการผลิต แต่ผลกระทบก็ตกถึงเกษตรกรผู้ปลูกผลผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบอีกด้วย ปริมาณของความต้องการไม่เคยเปลี่ยนแปลงนะ เพราะจำนวนผู้บริโภคเท่าเดิม แต่มีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนไป ดังที่นักเศรษฐศาสตร์บอกว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง กำลังซื้อไม่ได้หด แต่จ่ายยากกว่าที่เคย จ่ายทั้งทีต้องคุ้มค่า หากใครมีโอกาสเดินตลาดสดจะเห็นความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต ราคาสินค้าแพงขึ้น 2-3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับ 3-4 ปีที่ผ่านมา ถามแม่ค้า แม่ค้าก็บอกผลผลิตจากสวนมีราคาแพงขึ้น อ้ะ ทดไว้ในใจ แต่เมื่อถามเกษตรกร เอ๊ะ ก็ขายผลผลิตกันหน้าสวนราคาเดิมๆ นะ ไม่ได้ขายราคาสูงขึ้น แถมยังได้ราคาต่ำกว่าเดิมอีก เอ๊ะ มันยังไง ! ไม่มีใครโกหกนะ เพราะมีส่วนจริงอยู่ หม่ะมาดูที่มาที่ไปกัน ...
หลังจากรัฐบาลไทยตระเวณทำข้อตกลงทางการค้า FTA ไม่ว่าจะเป็นทวิภาคีหรือพหุภาคีกับใครต่อใครไปครึ่งค่อนโลก เดี๋ยวนี้คนไทยได้บริโภคผักจากประเทศเพื่อนบ้านล็อตใหญ่ๆ สวยๆ ถูกๆ ขายทุกราคากันบ่อยขึ้น อย่าว่าแต่เมืองจีน ผักจากเวียดนาม กัมพูชาก็ขนกันเข้ามาไม่ใช่น้อย ส่วนหนึ่งในนั้นก็เกี๊ยวคนไทยนี่แหละที่เข้าไปลงทุน ราคาที่คนไทยว่าถูกแค่ไหนก็ยังขาย เพราะค่าครองชีพของเขาสูงไม่เท่าบ้านเรา พอได้ราคาดี ประเทศเหล่านี้เลยเน้นผลิตเพื่อส่งมาขายไทยกันอย่างเดียว คนของเขาเลยไม่อิ่มท้องกันนักหรอก ต่างจากประเทศไทย โคตรอิ่ม ผลผลิตเหล่านี้ถูกนำมาจำหน่ายในช่องทางการขายผลผลิตสด ทั้งตลาดสด ซุปเปอร์มาร์เก็ต ดิสเค้าน์สโตร์ ผักไทยเลยตายเรียบ เห็นช่องมะ ? ก็ส่งผักไทยกลับไปขายเขาถูกๆ สิ
เกษตรกรไทยทำผลผลิตคุณภาพสูงกันจนเป็นเรื่องปกติ ต้นทุนเลยสูงพอดู ผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงยังเต็มใจที่จะจ่าย ของแพงไม่เกี่ยง ขอให้คุณภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อน ของคุณภาพไม่ดีราคาถูกก็เลยไม่ได้ขายในช่องทางนี้
ธุรกิจอาหารแปรรูป ทั้งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง แปรรูปเป็นอาหารปรุงสุก ต่างซื้อวัตถุดิบเข้ามาในราคาถูกเพื่อผลการดำเนินงาน นำมาตัดแต่งให้สวยด้วยผู้มีความชำนาญเพื่อจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้น กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะใช้ผลผลิตนำเข้า เพราะราคาไม่แพง แต่ถ้าเสี่ยงกับสารปนเปื้อน ผู้ประกอบการหลายรายก็ใช้วิธีการส่งเสริมการผลิตด้วยพันธสัญญาภายในประเทศ
เหล่าเจ้าสัวผู้ประกอบกิจการทางด้านอาหารมีความมั่งคั่งสูงขึ้นจากกิจการกันทุกปี ยังจะบอกว่าคนไทยบริโภคน้อยลงได้อยู่อีกหรือเปล่า มีโอกาสก็เข้า Google หรืออ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์สืบค้นเครือข่ายกันดูบ้าง จะได้รู้เสียทีว่าทำไมเจ้าสัวถึงรวยเอา รวยเอา
นโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นความสำเร็จในการบริหารด้วยดัชนีชี้วัดคือ GDP ของประเทศ ซึ่งเป็นภาพใหญ่ ทรัพยากรทั้งหมดถูกทุ่มไปที่หน่วยธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนหมู่มากได้มากกว่าหน่วยธุรกิจรายย่อยรวมๆ กัน ความมั่งคั่งจึงไปกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่โดยปริยาย
ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีความชำนาญเฉพาะทางถึงเวลาที่จะต้องปรับตัวแล้วหรือยัง ยากนะ แต่ต้องปรับ ไม่ปรับก็ตายแน่ จะผันตัวเองไปเป็น Startup หรืออะไรก็รีบทำ เวลาไม่เคยคอยใคร
เยาวชนไทยมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการยังไม่สูงมากนัก ดูได้จาก Startup ของเรายังไปไม่ถึงระดับ Unicorn เมื่อเทียบกับ Startup ในประเทศเพื่อนบ้าน แต่คนไทยกลับทำได้ดีในรูปแบบของ SMEs เพราะเก่งทำงาน แต่อธิบายไม่เก่ง จึงมักจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุน ล่าสุดสิงคโปร์ประกาศตัวเองเป็น Hub of Agriculture และ Hub of Foods ของโลก เขาทำได้ดีเสียด้วย 
สิงคโปร์ออกมาประกาศแบบนี้ ว่าแต่ประเทศไทยเป็นอะไรกันหว่า ?

Comments

Popular posts from this blog

Enjoy Your Work, Enjoy Your Life

การตลาดวิถีพุทธ

6Qs สร้างสรรค์ผลงาน สร้างความเบิกบานให้ชีวิต