Progress Surviving
ทำอย่างไรจึงก้าวหน้าและอยู่รอดได้ในองค์กร
วันนี้มีโอกาสได้ถามตรง
เพื่อนนักบริหารสุดที่เลิฟ
ผู้ซึ่งเป็น VP วาณิชย์ธนกิจระดับโลก
ถึงวิธีการทำงานของนักบริหารระดับสูง
ทำอย่างไรจึงเติบโตก้าวหน้า
ในหน้าที่การงาน จากพนักงานทั่วไป
จนก้าวมาเป็น VP ในห้วงระยะเวลา 18 ปี
ปฏิบัติงานในหน้าที่นี้มาแล้ว 3 ปี
ด้วยทักษะและวุฒิการศึกษาที่โ-ตรไม่ตรง
เพื่อนสอนสั้นๆ ‘บริหารเจ้านายให้เป็น’
แต่ ... เอ๊ะ ! ไม่เห็นเหมือนกับหนังสือ
How to หลายเล่มที่ใครต่อใครสอน
เขาบอกแต่ HRM OD BD CRM etc.
คือต้องเก่งมากๆ ถึงจะเป็นนักบริหารได้
หมด ... หมด ... หมดกันเลย
หนังสือที่อ่านมาเป็นร้อยๆ เล่ม
บทความอย่าไปนับ ... อีกเป็นพัน
เก่งก็ดี ไม่เก่งก็ได้ แต่ต้องรู้ใจเจ้านาย
สนับสนุนให้เจ้านายได้ทำหน้าที่สำคัญ
คือการ ‘ตัดสินใจ’ ในขั้นตอนสุดท้าย
ผบห. มีหน้าที่รับนโยบาย
นำไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ
ประมวลผลการปฏิบัติงาน
เสนอทางออกให้กับเจ้านาย
ที่สำคัญ อย่าเผือกทำหน้าที่แทนเจ้านาย
‘ทำอย่างไรให้ตดมดเหม็นกว่าตดช้าง’
... เอ่อ ... ดูมันเปรียบ ...
ทำน้อยต้องได้มาก
ให้ความสำคัญกับงานที่เจ้านาย
ให้ความสนใจ ทำน้อยแต่ต้องโดน
ทำมากแต่ไม่โดน ดูจะไม่ใช่คนขยัน
งานที่เราอยากทำ มักจะไม่ใช่งาน
ที่เจ้านายอยากให้ทำ
เพราะธรรมชาติของคน
ชอบทำแต่งานที่ทำได้ง่ายๆ และคุ้นเคย
ทำเยอะแค่ไหน เจ้านายก็มองว่าไม่โฟกัส
กลับกลายเป็น ‘คนโง่ ไม่เอาการเอางาน’
ในสายตาของเจ้านายไปซะงั้น
โอกาสที่จะได้รับมอบหมายงานสำคัญ
ก็ห่างไกลออกไปเรื่อยๆ
สถานเบาก็ดองตำแหน่ง แช่แข็งเงินเดือน
จนกว่าจะกลับตัวกลับใจ กลับมาแก้มือ
เมื่อโอกาสยังมีให้เสมอสำหรับคนที่ยัง
ต้องการก้าวหน้าและพัฒนาตนเอง
สถานหนักก็บีบให้ออกจากงาน
หรือไม่รั้งตัวไว้เมื่อยื่นใบลาออก
‘บุคลากร’ นั้นจริงๆ แล้วสำคัญต่อองค์กร
แต่ไม่สำคัญไปกว่า ‘จุดยืน’ ขององค์กร
เพราะมันหมายถึงอีกหลายชีวิตในองค์กร
‘คนหนึ่งก้าวหน้า
ต้องเหยียบบ่าอีกคนหนึ่งขึ้นไปเสมอ’
ทำมาก ผิดมาก ทำน้อย ผิดน้อย
บอกแล้วนะว่าให้ทำน้อยๆ แต่ต้องโดน
ขยันทำ แต่ดูโง่ ดูจะไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก
ทำงานผิดบ่อยๆ โอกาสก้าวหน้าก็มีน้อย
แก้ปัญหาได้บ่อยๆ โอกาสก้าวหน้าก็มีสูง
ปัญหาก็เกิดจากคนที่ทำงานผิดนั่นแหละ
‘ไม่จำเป็นก็อย่าเลียแข้งเลียขา’
ทำหน้าที่ของเราดังที่กล่าวมาข้างต้นก็พอ
คนที่เจ้านายจะเก็บไว้ถือกระเป๋าเดินตาม
เขาเตรียมไว้แล้ว ที่แน่ๆ หน่ะไม่ใช่เรา
‘ลูกค้าของคนทำงานมีเพียงคนเดียว
คือเจ้านายของเรา’
ทำอย่างไรให้เขาพอใจที่จะจ่ายเงิน
ซื้อตัว สมองและการทำงานของเรา
ลูกค้าที่อุดหนุนสินค้าของบริษัท
ก็คือลูกค้าของบริษัท
ไม่ใช่ลูกค้าของพนักงาน
หรือของผบห. คนใดคนหนึ่ง
ลูกค้าจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของพนักงาน
ที่จะนำมาต่อรองกับบริษัทได้
อย่าสำคัญตัวผิด
เพราะถึงไม่มีเรา เขาก็ยังอยู่กันได้
เพื่อนนักบริหารสุดที่เลิฟ
ผู้ซึ่งเป็น VP วาณิชย์ธนกิจระดับโลก
ถึงวิธีการทำงานของนักบริหารระดับสูง
ทำอย่างไรจึงเติบโตก้าวหน้า
ในหน้าที่การงาน จากพนักงานทั่วไป
จนก้าวมาเป็น VP ในห้วงระยะเวลา 18 ปี
ปฏิบัติงานในหน้าที่นี้มาแล้ว 3 ปี
ด้วยทักษะและวุฒิการศึกษาที่โ-ตรไม่ตรง
เพื่อนสอนสั้นๆ ‘บริหารเจ้านายให้เป็น’
แต่ ... เอ๊ะ ! ไม่เห็นเหมือนกับหนังสือ
How to หลายเล่มที่ใครต่อใครสอน
เขาบอกแต่ HRM OD BD CRM etc.
คือต้องเก่งมากๆ ถึงจะเป็นนักบริหารได้
หมด ... หมด ... หมดกันเลย
หนังสือที่อ่านมาเป็นร้อยๆ เล่ม
บทความอย่าไปนับ ... อีกเป็นพัน
เก่งก็ดี ไม่เก่งก็ได้ แต่ต้องรู้ใจเจ้านาย
สนับสนุนให้เจ้านายได้ทำหน้าที่สำคัญ
คือการ ‘ตัดสินใจ’ ในขั้นตอนสุดท้าย
ผบห. มีหน้าที่รับนโยบาย
นำไปสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ
ประมวลผลการปฏิบัติงาน
เสนอทางออกให้กับเจ้านาย
ที่สำคัญ อย่าเผือกทำหน้าที่แทนเจ้านาย
‘ทำอย่างไรให้ตดมดเหม็นกว่าตดช้าง’
... เอ่อ ... ดูมันเปรียบ ...
ทำน้อยต้องได้มาก
ให้ความสำคัญกับงานที่เจ้านาย
ให้ความสนใจ ทำน้อยแต่ต้องโดน
ทำมากแต่ไม่โดน ดูจะไม่ใช่คนขยัน
งานที่เราอยากทำ มักจะไม่ใช่งาน
ที่เจ้านายอยากให้ทำ
เพราะธรรมชาติของคน
ชอบทำแต่งานที่ทำได้ง่ายๆ และคุ้นเคย
ทำเยอะแค่ไหน เจ้านายก็มองว่าไม่โฟกัส
กลับกลายเป็น ‘คนโง่ ไม่เอาการเอางาน’
ในสายตาของเจ้านายไปซะงั้น
โอกาสที่จะได้รับมอบหมายงานสำคัญ
ก็ห่างไกลออกไปเรื่อยๆ
สถานเบาก็ดองตำแหน่ง แช่แข็งเงินเดือน
จนกว่าจะกลับตัวกลับใจ กลับมาแก้มือ
เมื่อโอกาสยังมีให้เสมอสำหรับคนที่ยัง
ต้องการก้าวหน้าและพัฒนาตนเอง
สถานหนักก็บีบให้ออกจากงาน
หรือไม่รั้งตัวไว้เมื่อยื่นใบลาออก
‘บุคลากร’ นั้นจริงๆ แล้วสำคัญต่อองค์กร
แต่ไม่สำคัญไปกว่า ‘จุดยืน’ ขององค์กร
เพราะมันหมายถึงอีกหลายชีวิตในองค์กร
‘คนหนึ่งก้าวหน้า
ต้องเหยียบบ่าอีกคนหนึ่งขึ้นไปเสมอ’
ทำมาก ผิดมาก ทำน้อย ผิดน้อย
บอกแล้วนะว่าให้ทำน้อยๆ แต่ต้องโดน
ขยันทำ แต่ดูโง่ ดูจะไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก
ทำงานผิดบ่อยๆ โอกาสก้าวหน้าก็มีน้อย
แก้ปัญหาได้บ่อยๆ โอกาสก้าวหน้าก็มีสูง
ปัญหาก็เกิดจากคนที่ทำงานผิดนั่นแหละ
‘ไม่จำเป็นก็อย่าเลียแข้งเลียขา’
ทำหน้าที่ของเราดังที่กล่าวมาข้างต้นก็พอ
คนที่เจ้านายจะเก็บไว้ถือกระเป๋าเดินตาม
เขาเตรียมไว้แล้ว ที่แน่ๆ หน่ะไม่ใช่เรา
‘ลูกค้าของคนทำงานมีเพียงคนเดียว
คือเจ้านายของเรา’
ทำอย่างไรให้เขาพอใจที่จะจ่ายเงิน
ซื้อตัว สมองและการทำงานของเรา
ลูกค้าที่อุดหนุนสินค้าของบริษัท
ก็คือลูกค้าของบริษัท
ไม่ใช่ลูกค้าของพนักงาน
หรือของผบห. คนใดคนหนึ่ง
ลูกค้าจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของพนักงาน
ที่จะนำมาต่อรองกับบริษัทได้
อย่าสำคัญตัวผิด
เพราะถึงไม่มีเรา เขาก็ยังอยู่กันได้
Comments