Posts

Showing posts from March, 2020

Creative Mission

นักบริหารต้องหมั่นสร้างงานสืบสานอาชีพ ผู้บริหารมืออาชีพต้องหมั่น ‘ สร้างงาน ’ นายจ้างจะได้ไม่รู้สึกผิดที่ยังจ้างเอาไว้ ลูกจ้างส่วนใหญ่เมื่อก้าวขึ้นมา ถึงจุดที่ต้องนำพาองค์กร มักจะคิดว่า ได้มาถึงที่สุดของความก้าวหน้าแล้ว สิ่งที่ทำได้มีเพียงรักษาอำนาจนั้นเอาไว้ แท้ที่จริงแล้วยังมีภารกิจอีกมากมาย ที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหาร ผู้บริหารถูกจ้างมาทำไม ? ‘ ดำเนินตามนโยบาย ขยายขนาดงาน สรรค์สร้างงานใหม่ นำไปสู่ความยั่งยืน ฝืนวัฏจักรการล้มหาย ท้าทายความเปลี่ยนแปลง ’ 2 ภารกิจแรก ก็ยังจะเอาตัวไม่รอด จะให้ทำภารกิจที่เหลืออย่างไร ? ก็ทำไปพร้อมกันสิ ... มองภาพใหญ่ ตั้งเป้าหมายสูงสุด เตรียมทางออกไว้สำหรับทางตัน และสร้างจุดเริ่มต้นเล็กๆ เอาไว้ การตั้งเป้าหมายง่ายกว่าลงมือทำ ! จัดเตรียมหนทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย นี่คือหน้าที่ของนักบริหาร ... มิใช่หรือ ? หรือคิดว่านักบริหารต้องลงมือทำเอง คุ้มกับค่าจ้างที่องค์กรจ่ายให้หรือเปล่า ? คิดไม่ได้ก็คงไม่ใช่นักบริหาร ‘ พลังที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับ ความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง ’ คือคำพูดของลุงเบน ที่เปลี่ยนชีวิต ของปีเตอร์ ปาร์คเก

Possible Mission

นักบริหารทำสิ่งที่ควรทำ ‘ มีเจ้านายที่ไหนมี Vision มั่ง (วะ) ?’ นี่คือส่วนหนึ่งของการสนทนา กับเพื่อนนักบริหารในเช้าวันหนึ่ง สิ่งนี้มักจะเป็นภาพที่เรามอง เจ้าของกิจการซึ่งเป็นคนยุคแรก ต้องคิดไว้เสมอว่า ถ้านายจ้างของเราเก่งไปเสียทุกอย่าง แล้วเขาจะจ้างเรามาทำไม เพราะเขาต้องการความสามารถของเรา มาแบ่งเบาภาระงานของเขา เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับองค์กร โดยลูกจ้างที่รับเข้ามา ต้องมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน คือการเติบโตขององค์กร ตามแนวทางที่นายจ้างวางเอาไว้ อนุญาตให้คิดต่างได้แต่ต้องสร้างสรรค์ และผ่านความเห็นชอบของเขาแล้ว หรือแม้แต่การใช้จ่าย ที่นายจ้างมักจะจู้จี้กับเรา เพราะเจ้าของกิจการนั้น ต้องยึดผลประกอบการเป็นที่ตั้ง รายจ่ายน้อยกว่ารายได้ รายได้มากกว่ารายจ่าย มีกำไรพอสมควร ถึงจะไม่มาก แต่ก็เพิ่มจากยอดขายได้ เพื่อวันหนึ่งจะได้มีกำไรมากพอ ที่จะจ่ายให้ลูกจ้างได้มากขึ้น หรือจ้างคนมาช่วยงานเพิ่มได้ มีกำไรมากเกินไป ก็ใช่ว่าจะดี แสดงถึงการเอาเปรียบลูกค้า ทุกธุรกิจล้วนมีบรรทัดฐาน ปัญหาโลกแตกที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย ลูกจ้างมักจะมองความอยู่รอดของตน

Executive Mission

ภารกิจพิชิตเป้าหมายของนักบริหารมืออาชีพ นักบริหารมืออาชีพต้องไม่มีข้อจำกัด รับได้กับทุกคำวิจารณ์ ไม่บ้าทฤษฎี มีชีวิตอยู่กับความจริง เพราะโลกที่สวยงามมันมีแต่ในความฝัน มีตรรกะ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เข้าใจบทบาทและสถานะของคนรอบข้าง คำพูดที่ดูเหมือนใส่ใจ อาจเป็นเพียงคำพูดเอาใจ เหตุผลที่แท้จริงมันมีในตัวเอง ค้นหาความจริงให้ได้ด้วยตนเอง ไม่มีใครใส่ใจเราเท่าตัวเราเอง ยึดมั่นในภารกิจและเป้าหมายตรงหน้า ในขณะที่มองไปถึงอนาคต กำหนดอนาคตด้วยตนเอง ไม่โอนอ่อนไปกับคำพูดชี้นำ เงี่ยหูฟังคำชี้แนะ เรียนรู้ประสบการณ์จากความผิดพลาด ไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว คืดให้เยอะ พูดให้น้อย แต่มีความหมาย มองภาพกว้าง ใส่ใจในรายละเอียด เอาใจใส่ผู้คนรอบข้าง ยอมรับในความต่างของคน แยกแยะงานและส่วนตัว จัดสรรเวลาให้พอเหมาะ ค้นหาความสุขจากงานที่ทำ มุ่งมั่นที่ความท้าทาย หมั่นสร้างงาน ใช้เครื่องมือที่มีให้เป็นประโยชน์ เล็งผลเลิศ เกิดประสิทธิผล คนคือตัวจักรสำคัญของความสำเร็จ ให้ความสำคัญกับ ‘ คน ’ ตั้งเป้าหมายส่วนตัวให้ยิ่งใหญ่ ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ให้กับคนภายใต้การดูแล ให้ทำได้ง่ายและบ่อยครั้ง

Required Business Leader

นักบริหารมืออาชีพ นักบริหารธุรกิจที่เป็นที่ต้องการขององค์กร ไม่จำเป็นต้องเก่งเลิศเลอ แต่ต้องเป็นผู้เข้าใจ สามารถปฏิบัติภารกิจตามนโยบายขององค์กร การดำเนินกิจการของนักบริหาร โดยใช้ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับถึงความเชี่ยวชาญ แต่เมื่อไม่สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะขัดแย้งกับนโยบาย ทักษะที่สำคัญของนักบริหารที่ดีจึงควรเป็น ' ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ' รวมถึงสามารถ ' แก้ไขปัญหาและอุปสรรค ' อีกทั้งทักษะที่สำคัญ ได้แก่ -:' การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ' เพื่อบอกถึงทิศทางที่ผู้บริหารกิจการ และคณะทำงานจะมุ่งไปด้วยกัน -:' ทักษะด้านการสื่อสาร ' มีศิลปะในการถ่ายทอด ทำความเข้าใจ กับผู้ร่วมงานและผู้บริหารในระดับชั้นที่สูงกว่า -:' ทักษะด้านการนำเสนอ การเล่าเรื่อง ' เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นภาพเดียวกัน สอดคล้องและมุ่งสู่เป้าหมายไปด้วยกัน ด้วยความกระตือรือร้น -:' บอกเล่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ' ไม่มีผู้บริหารคนใดชื่นชอบความประหลาดใจ หรือสิ่งที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โดย

Authorizing Level

ระดับขั้นของความรับผิดชอบ Executive คือ หน่วยวางแผน Operator คือ หน่วยปฏิบัติการ คนทำงานมักจะสับสนบทบาทของตน อยู่ตลอดเวลา เมื่อรู้สึกควบคุมอะไรไม่ได้ ฝ่ายบริหารมักจะลงมือทำงานเอง เมื่อสั่งงานไม่ได้ดังใจ ฝ่ายปฏิบัติการก็มักจะคิดและตัดสินใจเอง เมื่อรู้สึกว่าคำสั่งหรือนโยบาย ไม่ช่วยให้การทำงานราบรื่น ทางที่ดีคือทุกฝ่ายนั่งลงคุยกัน ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ชี้แนะแนวทางปฏิบัติตามบทบาทของตน ไม่ล่วงล้ำหน้าที่ของกันและกัน ฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ ควบคุม ดูแลการทำงานให้เข้าเป้า ถ่ายทอดเป้าหมายและนโยบาย ไปยังฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ความสำเร็จจึงเกิดขึ้นได้ จากการผสานแนวคิด แล้วแยกย้ายกันไปทำงาน รวมตัวกันอีกครั้งเมื่อต้องฉลองความสำเร็จ การจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารที่ดี ต้องเป็นนักปฏิบัติที่ดีมาก่อน เพื่อจะได้เข้าอกเข้าใจคนทำงาน เมื่อต้องรับคำสั่งและทำตามนโยบาย การเป็นผู้บริหารต้องรับแรงกดดันมหาศาล แบกภาระความรับผิดชอบต่อผลการทำงาน ทั้งของตนเองและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำพาองค์กรให้อยู่รอดได้ในสนา