Posts

Showing posts from January, 2021

Do It First

แผนระยะสั้น นั้นก็มีความหมาย เมื่อเราวางเป้าหมาย และแผนระยะยาวมาแล้ว การลงมือดำเนินการก็เป็นสิ่งสำคัญ ความตั้งใจมีมาแล้ว ไม่ควรยึดถือตามอารมณ์ นึกไม่อยากทำ หรือมีเหตุฉุดรั้งก็ไม่ทำ มันไม่ใช่ทางของความสำเร็จ การทำสิ่งเล็กๆ คือการสะสม รวบรวม หรือการต่อจิ๊กซอว์ภาพร่างของเป้าหมาย เพื่อประกอบร่างเป็นเป้าหมายใหญ่ การลงมือทำดำเนินการทีละนิด จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เรา เข้าใกล้เป้าหมายได้ทีละหน่อย การหมั่นปรับแผนการดำเนินงาน จะช่วยให้เราได้ทำสิ่งที่ ‘ ง่าย ’ ขึ้น ในการเข้าใกล้ความสำเร็จ คนที่ประสบความสำเร็จอยู่บ่อยครั้ง ก็ด้วยการหมั่นทำภารกิจเล็กๆ ที่อยู่บนเส้นทางของเป้าหมาย อีกทั้งหมั่นทบทวนภารกิจและเป้าหมาย ไม่นอกลู่นอกทางบ่อยจนเสียการใหญ่ คนที่จะประสบความสำเร็จ จึงไม่ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ทำทีละชิ้น เสร็จทีละอย่าง สำเร็จทุกวัน แล้วจึงประกอบผลงานที่สำเร็จนั้น เป็นเป้าหมายใหญ่อย่างสมบูรณ์ Multi-tasking เป็นคุณสมบัติ ของลูกจ้างมืออาชีพที่นายจ้างใฝ่ฝันถึง มืออาชีพต้องรู้จักแยกชิ้นส่วนงาน โดยใช้ลำดับความสำคัญและเร่งด่วน สำคัญกว่า ด่วนกว่า ทำก่อน สำคัญน้อย ไม่เร

Focus Priority

สำคัญหรือไม่สำคัญแบบด่วนหรือไม่ด่วน ในแต่ละวันนี่งานเยอะกันไหมครับ เยอะขึ้นทุกวันใช่ไหม ปีนี้ก็ดูเหมือนจะเยอะกว่าปีก่อน พออายุ (งาน) เยอะขึ้น ความรับผิดชอบก็ดูเหมือนจะมากขึ้น ถ้าเอาตามที่เคยถูกสอนกันมาแต่โบร่ำโบราณ ก็คือต้องขยันให้มากขึ้น ทุ่มเทกว่าที่เคย พักผ่อนให้น้อยลง นั่นหมายถึงเวลาส่วนตัวของเราก็จะน้อยลง พอถึงสุดสัปดาห์ก็นอนหมดสภาพอยู่บ้าน แล้วตื่นมาแบบเซ็งๆ ในเช้าวันจันทร์ แล้วจะมีความสุขตอนไหน   ช่วงหยุดยาวพร้อมกับคนทำงานทั้งประเทศงั้นเหรอ นอนดูทีวีอยู่บ้านคงเหนื่อยน้อยกว่านะ ดีกว่าไปแย่งกันกินแย่งกันเที่ยว ... ถ้าการมีความสุขต้องรอวันหยุดยาวนานขนาดนั้น ทำไมไม่หาความสุข สนุกสนานมันทุกวันไปเลยล่ะ หาจากที่ไหนกัน ... ก็หามันจากการทำงานนี่แหละ แล้วมันมีความสุขได้ยังไง ทำงานนะ ไม่ใช่ทำสปา ไม่ต้องถึงขั้นมีความสุขดั่งทำสปาหรอก คนทั่วไปจะรู้สึกผ่อนคลายกันตอนไหน ? แต่ละคนน่าจะไม่เหมือนกัน แต่โดยรวม น่าจะเป็นตอนที่เรารู้สึกว่าเราควบคุมได้ เราจะรู้สึกสบายสบายเมื่อรู้สึกว่าทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม รู้ว่าจะทำอะไรเมื่อไร   อย่างไร   สิ่งไหนจะเกิดขึ้นเมื่อไร   อย่าง

Priority Focus

ทุกปัญหามีทางออก ทุกทางออกมีปัญหา กระบวนการคิด พิชิตปัญหามีด้วยกัน 2 รูปแบบ คิดแบบวิเคราะห์     คือ การคิดแบบแยกส่วน คิดแบบสังเคราะห์ คือ การคิดแบบองค์รวม " แยกกันตี รวมกันต้าน" แยกส่วนเพื่อแจกแจงปัญหา องค์รวมเพื่อประมวลหนทางขจัดปัญหา ทำรายการแยกแยะปัญหาออกมาเป็นส่วนย่อย บันทึกลำดับความสำคัญ/ ความเร่งด่วน ลงใน Priority/ Urgent Matrix 2 ใน 10 ของรายการปัญหา มักจะสำคัญ และมีผลกระทบต่อ 8 ใน 10 ส่วนของโครงการ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องประเมินลำดับ ความสำคัญและความเร่งด่วน เพื่อเรียงลำดับของ "งาน" ลักษณะการทำงาน จึงเป็นกระบวนการ วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหา - > ประมวลหนทางแก้ไขปัญหา - > ลงมือแก้ไขปัญหา - > ... ดังเช่น อริยสัจจ์ 4 1) ทุกข์ สภาวะแห่งทุกข์ 2) สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ 3) นิโรธ การดับทุกข์ 4) มรรค หนทางดับทุกข์ มนุษย์เติบโตโดยการเรียนรู้จากความผิดพลาด ' ความสำเร็จ ' เป็นเพียงปลายทางของการกระทำ ที่เกิดจากการลองผิดลองถูก และกระทำซ้ำๆ ในสิ่งที่ถูกต้อง ( Right Way) การทำสิ่งที่ผิดพลาดบ่อยครั้ง ไม่ใช่ความล้มเหลว แต

Strength Intention

พัฒนาจุดแข็ง ละเลยจุดอ่อน ในโลกที่คำว่า ' มาตรฐาน ' เป็นตัวฉุดรั้ง พรสวรรค์   ความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามทักษะและความสามารถเฉพาะตน ซึ่งดูจะเป็นการเสียเวลาและกำลังไม่ใช่น้อย หากเราจะมุ่งลด แก้ไข ปรับปรุงจุดด้อย ที่มีอยู่มากมายในตัวเรา ให้ได้มาตรฐานตามการยอมรับของสังคมโลก เมื่อมนุษย์ไม่มีความสมบูรณ์แบบที่แท้จริง มีเพียงความจำเพาะเจาะจงเฉพาะตนเอง การจะประสบความสำเร็จของมนุษย์ จะต้องใช้เพียงทักษะหนึ่งเดียวในการเข้าถึง การมีความสามารถที่กว้างขวาง หลากหลาย ทำให้ไม่สามารถทุ่มเทความใส่ใจ ไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เพราะมัวเสียเวลา ไปกับการทำทุกอย่างให้ครบถ้วน สมบูรณ์แบบ จึงเป็นการดีกว่าที่เราจะค้นหา ความสนใจและความสามารถเฉพาะตน ที่จะทำได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับทุกสิ่งที่ทำ เพื่อมุ่งพัฒนาไปในทิศทางเดียว ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะดูไม่เข้าท่าในสายตาผู้อื่น ขอเพียงเป็นสิ่งที่เรารัก อยากทำและทำได้ดี เมื่อเป็นที่ต้องการของหลายคน สิ่งนั้นก็มีคุณค่า สามารถทำเป็นอาชีพได้ในอนาคต การจะค้นหาจุดแข็งในตัว ทำได้ไม่ง่าย เพราะต้องผ่านการเรียนรู้     ลองผิดลองถูก ขอเพีย

Never Try Just Do It

อย่าทำได้แค่พยายาม “ถ้าจะบอกว่า ได้พยายามอย่างที่สุดแล้ว สุดท้ายก็ทำไดัแค่พยายาม แต่มันก็คือทำไม่สำเร็จใช่มะ" ประโยคกึ่งบอกเล่ากึ่งสอนกึ่งถามที่เหมือนหนามแทงจี๊ดเข้าไปที่กลางใจนี้ ได้ยินครั้งแรกเมื่อตอนเป็นเซลส์ใหม่ๆ ตอนที่พยายามจะแถเพื่อแก้ตัวกับเจ้านายสุดเฮี้ยบของผมว่าทำไมทำงานไม่สำเร็จ และมันจะดังขึ้นมาทุกครั้งที่ผมจะเลิกล้มเอาดื้อๆ ตอนทำอะไรไปได้ครึ่งๆ กลางๆ แล้วเกิดไม่อยากทำต่อ เขาบอกว่า "เสียใจที่ไดัทำ ดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ" ก็เลยทำมั่ง ไม่ได้ทำมั่ง หาใครรับผิดไม่ได้ ก็จะโทษความเป็นศิลปินในตัวเอง ลมเพลมพัด อยากทำก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ มันดีสำหรับตัวเองนะ ไม่ตัองรู้สึกผิดต่อตัวเอง แต่รู้สึกผิดต่อคนอื่นนี่หนักเลย โดยเฉพาะเจ้านายกับเพื่อนร่วมงาน หรืออาจจะเป็นลูกค้า * \(-_-!)/* แต่สุดท้ายท้ายสุดก็ตัวเองนี่แหละที่รับผลของการ (ไม่) กระทำของตัวเอง ความไวัวางใจ ความเชื่อถือของคนที่เกี่ยวข้องก็จะค่อยๆ หมดไปในที่สุด ต่อไปก็จะถูกจดจำในฐานะของคนที่ไม่เคยประสบความสำเร็จ ไม่กระตือรือร้น มันแย่ยิ่งกว่าทำงานพลาดอีกนะ ผมเข้าใจดี เพราะผมพลาดบ่อย ก็เพราะเปลี่ยนงานบ่อยนี่แหละ