Job-Career-Calling

โตจนป่านนี้ต้องแยกให้ออกนะว่างานไหนเลี้ยงชีพ งานไหนเลี้ยงใจ งานเลี้ยงใจนี่ได้เงิน ไม่ได้เงินไม่สน ทำเพราะรักทำแล้วมีความสุข ทำเมื่อมีโอกาส ตื่นมาก็อยากทำ ส่วนงานเลี้ยงชีพ แบ่งได้ 3 ระดับ งานที่เราทำได้-งานที่ต้องเป็นเราเท่านั้นที่ทำได้-งานที่โลกอยากให้เราทำ เชื่อว่าทุกคนรู้สึกได้ถึงความแตกต่างของคุณค่า ซึ่งก็สะท้อนออกมาเป็นราคาที่ลูกค้า หรือนายจ้างต้องจ่ายหล่ะอ่ะ


งานที่เราทำได้ ซึ่งก็อาจจะมีอีกหลายคนในโลกที่ทำได้ ส่วนมากก็เป็นงานทั่วไปหรืองานอุตสาหกรรม งานพิมพ์ดีดงานเอกสาร งานประกอบชิ้นส่วน งานในไลน์ผลิต การประกอบอาหาร งานประเภทนี้ถูกทดแทนได้ด้วยคนอื่นหรือเครื่องจักร และในวันหนึ่งจะถูกทดแทนด้วย AI หรือ Bot


งานที่ต้องเป็นเราเท่านั้นที่ทำได้ งานเหล่านี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ตัวเราก็ต้องเป็นเอตทัคคะหรือเป็นเอกในงานนั้นไม่มีใครทำแทนได้ แม้แต่ใครคิดจะลอกก็ยังไม่เนียนเลย เพราะเรามีกระบวนการคิด การทำงานที่ไม่มีใครเหมือน เช่นงานออกแบบ งานหัตถกรรม งานบริหาร


แล้วชาวโลกก็จะบอกว่าพวกเขาต้องการอะไรจากเรา ต้องเป็นเราเท่านั้น พวกเขาถึงจะพอใจ งานในประเภทสุดท้ายนี้ไม่มีใครบอกได้ว่าต้องใช้ความเชี่ยวชาญหรือเปล่า แค่ทุกคนอยากเห็นเราในบทบาทนี้ เช่นการเป็น Influencer การให้ความรู้ การบริการ หรือแม้แต่การบริหารโครงการ


ไม่มีกฎตายตัวหรอกว่างานไหนดีที่สุดสำหรับตัวเรา งานเดียวกันอาจจะมีครบทั้ง 3 ประเภท แต่หลายคนก็ประสบความสำเร็จ มีความสุขกับงานทั่วไปที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่บังเอิญไม่มีใครอยากทำ เราก็ยังได้ทำอยู่ เบื้องหลังคือการบริหารจัดการชีวิตได้อย่างลงตัว แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว


แต่ละระดับงานก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการพากเพียรเรียนรู้และค้นพบตัวเอง ค้นพบไวก็มีความสุขไวชีวิตลงตัวทันที หรือในช่วงเวลาที่ยังค้นไม่พบ ก็มีความสุขกับการเรียนรู้ คนเรามีวิธีการหาความสุขที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงยังมีความสำคัญ เมื่อยังมีโลกใหม่ๆ อีกหลายใบที่ยังไม่เคยมีใครเข้าไปสัมผัส แม้แต่คนที่เราคิดว่าเจ๋งที่สุดแล้ว

Comments

Popular posts from this blog

Enjoy Your Work, Enjoy Your Life

6Qs สร้างสรรค์ผลงาน สร้างความเบิกบานให้ชีวิต

PDCA Circle